ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบึงกาฬ
Instructional Leadership of School Administrators Affecting an Effectiveness of the Academic Affairs Administration under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
สรรเพชญ ไตรยงค์ รหัส 62421229101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ จำนวน 372 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 107 คน และครูผู้สอน จำนวน 265 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .978 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .606-.933 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมาก

2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และจำแนกตามขนาด
ของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

5. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน 

6. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีจำนวน 3 ด้าน ซึ่งพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ได้ร้อยละ 72.30 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ 0.26009 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Y’ = 0.707 + 0.298(X4) + 0.293 (X2) + 0.288 (X3) และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Z’ = 0.331 (ZX4) + 0.334 (ZX2) + 0.259 (ZX3)

8. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 
            8.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตร โดยให้ผู้บริหารสร้างความตระหนัก
ให้เห็นความสำคัญของหลักสูตร ปรับวิธิคิดใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 
            8.2 ด้านการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมทางวิชาการ โดยผู้บริหารจำเป็นต้องกระตุ้นและส่งเสริมให้ครูและบุคลากรร่วมกันจัดบรรยากาศภายในโรงเรียน 
            8.3 ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการกำกับติดตามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จัดอบรมเชิงปฏิบัติ และพัฒนาการด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้บริหารและครู
 

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing instructional leadership of school administrators affecting effectiveness of academic affairs administration under  Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The samples consisted of a total of 372 participants including 107 school administrators and 265 teachers. obtained through multi-stage random sampling.  The instruments for data collection were a set of questionnaires and interview forms with the reliability of.978 and the item determination index ranging between .606 and .933. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t–test, One-Way ANOVA, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The instructional leadership of school administrators affecting effectiveness of academic affairs administration as a whole and in each aspect was at a high level.

2. The instructional leadership of school administrators as perceived by participants classified by positions, work experiences and school sizes as a whole was not different.

3. The effectiveness of academic affairs administration as a whole was at a high level.     

4. The effectiveness of academic affairs administration as perceived by participants classified by positions as a whole showed no difference.

5. The effectiveness of academic affairs administration as perceived by participants classified by work experiences and school sizes as a whole was different.

6. The relationship between instructional leadership of school administrators and effectiveness of academic affairs administration as a whole had a positive relationship at the .01 level of significance.

7. Three aspects of school administrators’ instructional leadership were able to predict the effectiveness of academic affairs administration with the predictive power of 72.30 percent and the standard error of estimate of 0.26009. The equation in raw scores was Y’ = 0.707 + 0.298(X4) + 0.293 (X2) + 0.288 (X3), and the predictive equation in standardized scores was Z’ = 0.331 (ZX4) + 0.334 (ZX2) + 0.259 (ZX3).

8. The researcher proposed the guidelines for the instructional leadership of school administrators consisting of three aspects: 
            8.1 Curriculum Development. School administrators should raise awareness of the importance of curriculum and changing ways of thinking to align with the current situations.
            8.2 Promoting Academic Affairs Atmosphere. School administrators must encourage and support teachers and personnel to help create a conducive learning environment in schools.
            8.3 School Quality Assurance; that was, school administrators must monitor the quality assessment regularly, provide workshops. and improve professional development on school quality assurance for themselves and teachers.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ , ประสิทธิผลงานวิชาการ
Keywords
Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,570.01 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 00:03:54
View 865 ครั้ง


^