ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21
Administrative Skills of School Administrators in the 21st Century Influencing School Effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้จัดทำ
สัตตบุษย์ โพธิรุท รหัส 62421229104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ,ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.48-0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test  One-Way ANOVA ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิผลโรงเรียน
ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ขนาดของโรงเรียนและจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

3. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน จังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .724

5. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 52.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.31564

6. ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ทักษะ ได้แก่ 
            6.1 ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ควรจัดอบรม ประชุม สัมมนา PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ มีการนิเทศติดตาม     จัดประกวดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 
            6.2 ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์ ควรจัดอบรม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานในประเทศต่างประเทศ ผู้บริหารครูผู้สอนและบุคลากรกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน                       

            6.3 ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ควรจัดทำนโยบายพัฒนาทักษะการคิด จัดอบรม ประชุม สัมมนา ทำ PLC ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาและจัดทำแบบทดสอบประเมินผู้บริหาร
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identifythe relationship, determine the predictive power, and establish the guidelines for developing administrative skills of school administrators in the 21st century Influencing school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 21 (SESAO). The sample consisted of 56 school administrators and 279 teachers, obtained through multi-stage random sampling yielding a total of 335 participants under the SESAO 21 in the academic year 2020. The instruments  for data collection were a set of questionnaires and observation forms with a reliability of 0.99 and discrimination values ranging between 0.48 and 0.89. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrative skills of school administrators in the 21st century as perceived by participants were overall at a high level, whereas school effectiveness was overall at the highest level.

2. The administrative skills of school administrators in the 21st century as perceived by participants classified by positions, work experience, school sizes and a province of school location differed overall at the .01 level of significance. 

3. The school effectiveness as perceived by participants classified by positions, school sizes, and a province of school locations was different overall at the .05 level of significance, whereas there was an overall difference at the .01 level of significance in terms of work experiences.

4.The overall administrative skills of school administrators in the 21st century and the school effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance with the correlation coefficient of .724.

5. Five administrative skills of school administrators in the 21st century were analyzed, and only three administrative skills could predict school effectiveness at the .01 level of significance with the predictive power of 52.30 percent, and the standard error of estimate of ± .31564.

6. The administrative skills of school administrators in the 21st century influencing school effectiveness covered three skills needing improvement as follows:  
            6.1 Digital literacy skills. School administrators should provide training and PLC seminars to exchange knowledge and experience in the best practice schools. The monitoring and follow-up, and competition on the use of technology and innovation should also be provided. 
            6.2 Setting vision skills. School administrators should provide training, seminars for knowledge sharing, national and international field trips. School administrators, teachers and personnel should determine mutual visions.
             6.3 Critical and creative thinking skills. School administrators should set policies in place to ensure thinking skills development by providing workshops, meetings, and PLC seminars leading to knowledge exchange. In addition, schools should engage in creating innovation for developing and creating evaluation forms for administrators.
 

คำสำคัญ
ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Administrative Skills in the 21st Century, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,847.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:40:44
View 1300 ครั้ง


^