ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Instructional Leadership of School Administrators Affecting an Effectiveness of the Academic Affairs Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ชลนิชา ศิลาพงษ์ รหัส 62421229106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 339 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .781-.885 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .936 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .800-.837 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .930 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์One-Way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ และจำแนกตามอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน และอำเภอที่โรงเรียนตั้งอยู่ โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจพยากรณ์ ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนและด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการพัฒนาครูและบุคลากรด้านวิชาการ และด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

7. แนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิชาการ มีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และนำหลักสูตรไปใช้ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแผนในการพัฒนาครูและบุคลากรด้านวิชาการที่ชัดเจน ยุติธรรม ส่งเสริมให้ครูพัฒนาตนเอง เช่น การประชุม อบรม และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 3) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณธรรมและจริยธรรมและ4) ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งทางด้านกายภาพและจิตวิทยา 
 

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare, determine the predictive power, and establish the guidelines for improving instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The samples, consisted of administrators, heads of academic affairs, and teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020, yielding a total of 339 participants.   obtained through stratified random sampling. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires consisting of: the instructional leadership of school administrators with discriminative power values ranging from .781 to .885 and a reliability of .936, and the effectiveness of school academic affairs administration with discriminative power values ranging from .800 to .837, and a reliability of .930. Statistics for data collection were analyzed through percentage, mean, and standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.

The results were as follows: 

1. The instructional leadership of school administrators as perceived by participants as a whole was at the highest level.

2. The effectiveness of school academic affairs administration as perceived by participants as a whole was at the highest level. 

3. The instructional leadership of school administrators, as perceived by participants classified by different statuses, district areas, as a whole was at .05 level of statistical significance, whereas there were not different in terms of work experiences and school sizes overall. 

4. The effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants classified by different statuses, work experiences, and district areas, as a whole showed no difference, whereas there was no difference overall in terms of school sizes at .05 level of statistical significance.

5. The instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants, had a positive relationship at .01 level of statistical significance. 

6. The instructional leadership of school administrators had the predictive power toward the effectiveness of school academic affairs administration in terms of curriculum development and teaching and learning, and student quality development at .01 level of statistical significance. The aspects regarding the academic professional development of teachers and personnel, and the creation of conducive learning environment were at .05 level of statistical significance.

7. The guidelines for improving instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of school academic affairs administration included: 1) School administrators should have knowledge to perform academic affairs, and hold the responsibility of analyzing the basic education core curriculum, creating school curriculums and implementing the created curriculums into practice; 2) School administrators should have clear and fair plans on the academic professional development for teachers and personnel, and support teachers for self-development, such as attending meetings, training and pursuing a higher level of education; 3) School administrators should set goals for improving the quality of learners in terms of learning achievement, morality and ethics; and 4) School administrators should create a conducive learning environment for both physical and psychological learning.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ , การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน
Keywords
Instructional Leadership, School Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,343.69 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 01:20:57
View 1581 ครั้ง


^