สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2562 จำนวน 356 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียน โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.955 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.240-0.886 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
2. ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนอยู่ในระดับมาก
3. เปรียบเทียบปัจจัยการบริหารตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน
4. ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนตามความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารกับความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนโดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 5 ด้านที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยทั้ง 5 ด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารกับความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีดังนี้ 7.1 ด้านภาวะผู้นำมีแนวทางพัฒนา คือ มีการนิเทศ ติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ 7.2 ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากรมีแนวทางพัฒนา คือส่งเสริมบุคลากรเข้าอบรม ศึกษาดูงาน นิทรรศการ และการศึกษาต่อ 7.3 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวทางพัฒนาคือ มีการสนับสนุน อุปกรณ์ สื่อ เพื่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 7.4 ด้านงบประมาณมีแนวทางพัฒนาคือ มีการนิเทศติดตามประเมินผลด้านงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ 7.5 ด้านบรรยากาศ มีแนวทางพัฒนา คือ ส่งเสริมให้มีความรักความผูกพันต่อองค์กร และเพื่อนร่วมองค์กร
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship and the predicting power between administrative factors affecting success in academic affairs administration in schools under the Primary Educational Service Area Office in Nakhon Phanom Province, as perceived by school administrators, heads of academic affairs administration department, teachers, and chairmen of Basic Education Board, and establish guidelines for developing administrative factors. The samples consisted of school administrators, heads of academic affairs department, teachers, and chairmen of Basic Education Board from schools under the Primary Educational Service Area Offices in Nakhon Phanom Province in the 2019 academic year, yielding a total of 356 participants. obtained through multi-stage random sampling The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning administrative factors affecting success in school academic affairs administration with the reliability of 0.955 and the discrimination values between 0.240 and 0.886. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, One – Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrative factors affecting success in school academic affairs administration were at a high level.
2. The success of school academic affairs administration was at a high level.
3. The administrative factors as perceived by participants, classified by positions were different, whereas there were not different in terms of work experiences and school sizes.
4. The success of school academic affairs administration as perceived by participants, classified by positions was different, whereas there were not different in terms of work experience and school sizes.
5. The administrative factors and the success in school academic affairs administration had positive relation at a high level with the .01 level of significance.
6. The administrative factors consisting of five aspects were able to predict the success in school academic affairs administration at the .01 level of significance.
7. The guidelines for developing administrative factors affecting success in school academic affairs administration consisted of: 7.1 Leadership comprising continuous supervision, monitoring and evaluation; 7.2 Personnel and Personnel Development, including promoting personnel professional development through workshops, best practice visits, and further study; 7.3 Information Technology, including a provision of media equipment for information technology utilization; 7.4 Budgets comprising continuous supervision, monitoring and evaluation of school budget; 7.5 Atmosphere, including promoting a sense of organizational commitment and positive co-worker relationships.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 12,794.09 KB |