สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน 3) เปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 4) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน 6) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่มีความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 331 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน ครู จำนวน 204 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 45 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าเอฟ (F-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ในกรณีพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ LSD และการวิเคราะห์ค่า สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความโปร่งใส และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักการมีส่วนร่วม และด้านหลักความรับผิดชอบในขณะที่ด้านหลักความคุ้มค่า ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน
4. ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความจงรักภักดีต่อองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่าโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
6. แนวทางบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาและความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักความคุ้มค่า ควรมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการที่สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ด้านหลักการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร ควรให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการทำงานและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการยอมรับและศรัทธากันและกัน และร่วมรับความสำเร็จของงานที่ได้ทำร่วมกัน 3) ด้านการคงความเป็นสมาชิกในองค์กร ควรมีการเสริมแรงบวกให้แก่ครูในทุกๆ ด้าน และมีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในองค์กรอยู่เสมอ
The purposes of this research were to: 1) study the administration according to the principles of good governance of the school administrators, 2) study the organizational commitment of the school teachers, 3) compare the administration according to the principles of good governance of the school administrators. 4) Compare the organizational commitment of the school teachers. 5) Study the relationship between administration according to the good governance principles of the school administrators and the organizational commitment of the school teachers. 6) Find ways to develop management based on the principles of good governance that are binding on the organization of school teachers. The samples used in this research consisted of the school administrators, teachers and the chairmen of the basic education institution committee. Under the Office of the Secondary Educational Service Area 23, Academic Year 2019, 331 people. The sample size was determined by using the tables of Krejcie and Morgan (82 students), 204 teachers and 45 primary school board chairmen. Stratified random sampling. Research instruments It was a 5 level estimation scale questionnaire which obtained the confidence of the questionnaire. The whole issue was 0.89. The statistics used for data analysis were percentage value, mean score. Standard deviation F-test analysis (Independent Samples) One-Way ANOVA analysis of mean difference in case of finding a mean difference. Tests were performed on a double basis using LSD method and value analysis. Pearson's Simple Correlation Coefficient (Pearson's Product Moment Correlation)
The results of the research were as follows:
1. The administration according to the good governance principles of the school administrators as a whole and in each aspect was at the highest level.
2. The commitment to the organization of the teachers in the school. Overall and each aspect was at the highest level.
3. Administration according to the good governance of the school administrators Classified by position of position found that the overall difference was statistically significant at the level of 0.01. It was found that there was a statistically significant difference at the level of 0.01. There are 2 aspects: the rule of law The main aspect of transparency There were statistically significant differences at 0.05 level in 3 aspects, namely moral principles. Principles of participation And the main aspect of responsibility, while the main aspect, the value No difference Sections classified by school size And operating experience found that overall and in all aspects were not different.
4. Engagement to the organization of school teachers. Classified by position Found that overall there was no difference. When considering each side It was found that the loyalty to the organization was statistically significant at 0.05 when classified by school size. And operational experience It was found that overall and in each aspect were no different.
5. The relationship between administration according to the good governance of the school administrators and the organizational commitment of the school teachers in general was found to have a positive relationship at a moderate level. Statistically significant at the level of 0.01
6. Guidelines for administration according to the good governance of the school administrators and the organizational commitment of the teachers in the school are suggested in 3 areas as follows: 1) Value principles Action goals should be planned and defined in accordance with the available resources for maximum benefit. 2) The principles of accepting the goals and values of the organization All parties should be involved in every process and in the same direction. Created mutual acceptance and faith And jointly receive the success of the work that has been done together. 3) Membership retention in the organization There should be positive reinforcement in all areas of the teachers and there should always be a good relationship with each other in the organization.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 13,761.56 KB |