ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
Factors Affecting the Efficiency of Procurement Administration in Schools under the Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
สุภารัตน์ บาลนาคม รหัส 62421229115 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานพัสดุ และเจ้าหน้าที่งานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 318 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 85 คน หัวหน้างานพัสดุ จำนวน 85 คน และเจ้าหน้าที่งานพัสดุ จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน  คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .965 ด้านที่ 2 ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ มีค่าความเชื่อมั่น .877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหาร และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานพัสดุ และเจ้าหน้าที่งานพัสดุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

2. ปัจจัยทางการบริหาร และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานพัสดุ และเจ้าหน้าที่งานพัสดุโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ปัจจัยทางการบริหารในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานพัสดุ และเจ้าหน้าที่งานพัสดุ ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ในโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

4. ปัจจัยทางการบริหาร และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานพัสดุ และเจ้าหน้าที่งานพัสดุที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพัสดุแตกต่างกัน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหาร และประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหารในโรงเรียน ด้านการบริหารองค์กร ด้านงบประมาณ ด้านการกำหนดความต้องการ และด้านการวางแผน มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจการพยากรณ์ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ ร้อยละ 61.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.29240

7. ปัจจัยทางการบริหาร ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการวางแผน โรงเรียนควรจัดทำแผนการจัดหาพัสดุและแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 2) ปัจจัยด้านงบประมาณ โรงเรียนควรจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ตามผลผลิตหรือโครงการที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี 3) ปัจจัยด้านการกำหนดความต้องการ ต้องมีการสำรวจความต้องการใช้พัสดุจากผู้ใช้งานจริง และดำเนินการจัดหาพัสดุให้มีอยู่อย่างเพียงพอต่อความต้องการ และ 4) ปัจจัยด้านการบริหารองค์กร ควรมีการประชุมจัดตั้งงบประมาณในแต่ละโครงการของงาน 4 ฝ่าย ร่วมกันเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้เหมาะสมในแต่ละงาน
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare and establish guidelines for developing factors affecting the efficiency of procurement administration in schools under  Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1. The samples, obtained through multi-stage sampling, consisted of 318 participants, including 85 school administrators, 85 heads of procurement tasks, and 148 procurement officers, yielding a total of 318 participants from schools under  Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020. The research instrument for data collection was a set of rating scale questionnaires containing two aspects: Aspect 1: school factors with the reliability of .965; Aspect 2 efficiency of procurement administration with the reliability of .877. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through  t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrative factors and the efficiency of school procurement administration, as perceived by participants were overall at a high level.

2. The administrative factors and the efficiency of school procurement administration, as perceived by participants were overall different at the .01 level of significance.

3. The overall administrative factors in schools, as perceived by participants from different school sizes were at the .05 level of significance, whereas the overall effectiveness of school procurement administration was not different.

4. The administrative factors and the efficiency of procurement administration in schools, as perceived by participants were different at the .05 level of significance, whereas the overall efficiency of procurement administration in schools were not different.

5. The relationship between administrative factors and the efficiency of procurement administration in schools were significantly positive at the .01 level of significance.

6. The administrative factors in schools in terms of organizational administration, budget, demand determination, and planning had a predictive power on the efficiency of school procurement administration at the .01 level of significance with 61.60 percent and the standard error of the estimate of ± .29240.

7. The administrative factors consisted of four aspects needing improvement as follows: 1) Planning. Schools should have plans for the procurement process and regularly update on the purchasing plans; 2) Budget. Schools should develop a budget expenditure plan in accordance with the output or projects specified in the annual operational plans; 3) Demand determination. Schools must administer a survey to determine utilization of the inventory from actual users, operate the procurement and secure supplies to meet users’ needs; and 4) Organizational management. Schools should set meetings for budget allocation covering each project from four departments and mutually operate appropriate procurement of supplies in each task.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหารงานพัสดุ ประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุ
Keywords
Administrative Factors, Efficiency of Procurement Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,498.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:43:59
View 725 ครั้ง


^