ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Relationship Between Teacher Performance and Effectiveness Based on Educational Standards of Student Quality in Schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
กมลชนก ศรีสุดา รหัส 62421229120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ ,ดร.ภิญโญ ทองเหลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และแนวทางยกระดับการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 340 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับด้านการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .317–.847 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9524 และ ด้านประสิทธิผล ตามมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .263–.893 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9363 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test ชนิด Independent Samples, One-Way ANOVA, และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การปฏิบัติงานของครูผู้สอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็น ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. การปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  เมื่อจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน

5. การปฏิบัติงานของครูผู้สอน กับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางยกระดับการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ดังนี้ 
1) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริม สนับสนุนครูผู้สอนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรอบรู้ ทันสมัย และทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของครู และเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีความเข้าใจการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการของผู้เรียน และ 3) ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน โรงเรียนควรให้ความช่วยเหลือ ความรู้และบริการทางวิชาการแก่ชุมชน และส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของทางชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ  ของโรงเรียน ควรจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน จัดประชุมผู้ปกครองอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง 

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, determine the predictive power and establish the guidelines for improving teacher performance in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2. The samples were obtained from multi-stage random sampling, consisted of 340 participants-school administrators and teachers in the academic year 2019. The instrument for data collection was a set of 5-rating scale questionnaires concentrating on teacher performance with the discriminative power value between .317-.847 and the reliability of .9524, and effectiveness based on educational standards in terms of student quality with the discriminative power value between .263-.893 and the reliability of .9363. Data were analyzed through percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was performed through t–test for Independent Samples, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.  

The findings were as follows:

1. Teacher Performance, as perceived by participants, as a whole and in each aspect, was at a high level.

2. The effectiveness based on educational standards on student quality, as perceived by participants, as a whole and in each aspect was at a high level.

3. Teacher performance as perceived by participants classified by positions, work experience, and school sizes as a whole and in each aspect showed no difference.

4. The effectiveness based on educational standards on student quality, as perceived by participants classified by positions, work experience, as a whole and in each aspect was not different, whereas in terms of school sizes, there was at the .01 level of significance overall. When considering each aspect, the opinions in terms of student academic achievement differed at the .01 level of significance.

5. Teacher performance and the effectiveness based on educational standards on student quality as a whole had a positive relationship at a high level with the .01 level of significance.

6. The researcher proposed the guidelines for upgrading teacher performance in schools under  Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 2 as follows: 1) Teacher Performance. Schools should support teachers for continuous professional development to improve professional competence, update knowledge, and keep pace with recent advances. Schools should also provide supervision, monitoring, and teacher performance evaluation. Teachers should distribute received knowledge from individual professional development regularly at least twice a semester; 2) Learning Management. Teachers should have knowledge and understanding on school curriculum development, measurement and evaluation, instructional procedures, and utilize a variety of different learning management to meet the current changes and needs of students, and 3) Family-School-Community Relationships. Schools should offer a range of assistance, knowledge, and service delivery to communities, encourage school personnel to engage in community activities on a continuous basis, give opportunity for members of the communities to express opinions on education management in schools or various school activities and operations, and organize home visits and general parent meetings at least twice a semester. 
 

คำสำคัญ
การปฏิบัติงานของครูผู้สอน ประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาคุณภาพผู้เรียน
Keywords
Teacher Performance, Effectiveness Based on Educational Standards, Student Quality
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,027.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 09:33:03
View 551 ครั้ง


^