ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลงานวิชาการ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
The Relationship Between Teacher Leadership and an Effectiveness of the Academic Affairs in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
ศิรินันท์ ทองป้อง รหัส 62421229121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ ,ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 354 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 108 คน และครูผู้สอน จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า คือ ภาวะผู้นำครู มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .241-.867 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .983 และประสิทธิผลงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .426 –.799 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .863 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้การวิเคราะห์ One-Way ANOVA) และใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำครู และประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำครู และประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครู  ผู้สอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประสิทธิผลงานวิชาการ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิผลงานวิชาการ โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำครู และประสิทธิผลงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบึงกาฬ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำครูที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลงานวิชาการ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีแนวทางที่ควรได้รับการพัฒนามีจำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน ครูต้องพัฒนาตนเอง ศึกษาค้นคว้าหาความเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา หาความรู้เสริมนอกเหนือจากบทเรียนที่สอนประจำ เข้าใจกระบวนการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการของผู้เรียน สามารถบูรณาการความรู้และเทคนิค วิธีการต่าง ๆ ในการวางแผนและจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาผู้เรียนได้
 

Abstract

This research aimed to examine the relationship between teacher leadership and the effectiveness of academic affairs in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The samples, obtained through Stratified Random sampling, consisted of 354 participants, including 108 school administrators, 108 heads of academic affairs, and 138 teachers. The research tool was a set of rating scale questionnaires containing teacher leadership with the discriminative power between .241 and .867, the reliability of .983; and the effectiveness of academic affairs with the discriminative power between .426 and .799, and the reliability of .863. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing was done through One-way ANOVA, and Pearson's product-moment correlation coefficient.

The results of the research were as follows:

1. Teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs as perceived by participants as a whole were at a high level.

 2. Teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs as perceived by participants as a whole were not different.

3. Teacher leadership as perceived by participants from different school sizes as a whole was not different, whereas the effectiveness of school academic affairs was different at the .01 level of significance.

4. Teacher leadership as perceived by participants with different work experiences as a whole was different at the .01 level of significance, whereas the effectiveness of school academic affairs as a whole was at the .05 level of significance.

5. The relationship between teacher leadership and the effectiveness of school academic affairs showed a positive correlation at the .01 level of significance.

6. Guidelines for developing teacher leadership correlating with the effectiveness of academic affairs in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office consisted of one aspect needing improvement i.e., achievement motivation of learners: teachers should focus on self-development, continuously learn and acquire new information at all times, include complementary information for regular teaching lessons, understand teaching and learning processes and various methods of learning management, stay abreast of current changes, serve the needs of learners, and integrate knowledge and various techniques and methods in planning and learning management for learner development.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำครู , ประสิทธิผลงานวิชาการ
Keywords
Teacher leadership, Academic Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,610.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:25:54
View 369 ครั้ง


^