ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Instructional Leadership of School Administrators Influencing the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้จัดทำ
ปวีณา บุทธิจักร์ รหัส 62421229122 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ หาความสัมพันธ์และ ค่าอำนาจพยากรณ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 56 คน และครูผู้สอน จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตรส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ 2 ตอน คือตอนที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .990 ตอนที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์  t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน            
อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามขนาด ของโรงเรียนและจำแนกตามจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษาด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการพัฒนานักเรียน และด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากร มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ร้อยละ 64.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.23458

7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ควรมีการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน วางแผนเตรียมความพร้อมให้กับครูในการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน 2) การพัฒนานักเรียน ติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และส่งเสริมให้ครูนำเสนอพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน มีการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน 3) การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากร ควรมีการสนับสนุนให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครูซึ่งเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโรงเรียน 4) การนิเทศการศึกษาต้องสร้างขวัญและกำลังใจแก่ครูและบุคลากรจัดอบรมเพื่อให้เกิดทักษะแก่บุคลากรในสถานศึกษา
 

Abstract

The purposes of this research aimed to study and compare instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration, to examine the relationship and the predictive power of academic affairs administration influencing the effectiveness of academic affairs administration in schools under the Secondary Educational Service Area Office 21 (SESAO). The sample, obtained through  Multi-Stage Random Sampling, consisted of 56 school administrators, and 279 teachers, yielding a total of 335 participants from schools under the SESAO 21  in the academic year 2020. The instrument for data collection was a set of rating scale questionnaires containing two parts: Parts 1-instructional leadership of school administrators with a reliability of .990; Parts 2-effectiveness of school academic affairs administration with a reliability of .980. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. Instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants, was at a high level.

2. Overall instructional leadership of school administrators, as perceived by participants, differed at the .01 level of significance, whereas the overall effectiveness of school academic affairs administration was not different.

3. Instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants, classified by work experience, as a whole and in each aspect, were not different.

4. Instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration, as perceived by participants from different school sizes and a province of school location, as a whole were at the .01 level of significance.

5. Instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs administration had a positive relationship at the .01 level of significance.

6. Instructional leadership of school administrators in terms of educational supervision, curriculum and instruction development, student development, and professional development of teachers and personnel had the predictive power on the effectiveness of school academic affairs administration of 64.40 percent at the .01 level of significance with the standard error estimate of ±.23458.

7. The guidelines for developing instructional leadership of school administrators involved four aspects:  1) Curriculum and instruction development by analyzing the core curriculum to set the objectives of school curriculums in accordance with the needs of learners and community, and plan for preparing teachers to implement the curriculums into practice; 2) Student development by monitoring student progress, supporting teachers to present students’ learning progress, and working collaboratively with parents to improve students’ learning achievement; 3) Professional development of teachers and personnel by supporting teachers to participate in professional development activities in relation to the schools’ goals,n4) Educational supervision by creating morale for teachers and personnel and providing workshops to improve school personnel skills
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ,ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,523.41 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:24:09
View 970 ครั้ง


^