สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 324 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 81 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 81 คน และครูผู้สอน จำนวน 162 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.311 - 0.896 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .843 2) ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.352 - 0.864 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการ จําแนกตามสถานภาพการดํารงตําแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสําเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน จําแนกตามสถานภาพการดํารงตําแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหารงานวิชาการกับความสําเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (rXY = .584)
6. ผลการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน คือ ด้านครูผู้สอน (X2) ด้านผู้เรียน (X3) และด้านผู้บริหารโรงเรียน (X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ได้ร้อยละ เท่ากับ 33.9
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ด้านครูผู้สอน สนับสนุนให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู ด้านผู้เรียน ผู้บริหารต้องติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน และส่งเสริมให้ครูนำเสนอพัฒนากรการเรียนรู้ของนักเรียน ด้านผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารควรมีการศึกษา ดูงานในองค์กรที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, and identify the predictive power of factors affecting the success of academic affairs administration of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3. The sample size was determined using Krejci and Morgan’s table with a total of 324 participants, comprising 81 school administrators, 81 heads of the academic department, and 162 teachers. The multi-stage random sampling was also employed for sample selection. The research tool for data collection was a set of rating scale questionnaires comprising two aspects: Factors affecting the success of academic affairs administration with the predictive power ranging from 0.311 to 0. 896, and the reliability of 0.834, and the success of academic affairs administration of school administrators with the predictive power ranging from 0.352 to 0.864 and the reliability of 0.950. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, One - Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The factors affecting the success of academic affairs administration were overall at the highest level.
2. The success of academic affairs administration of school administrators was overall at the highest level.
3. The factors affecting the success of academic affairs administration, classified by positions, school sizes, and work experience, showed overall differences at the .01 level of significance.
4. The success of academic affairs administration of school administration, classified by participants’ positions, and work experience showed a difference overall at the .01 level of significance, whereas there was no overall difference in school sizes.
5. The analysis results comparing factors affecting the success of academic affairs administration and the success of academic affairs administration of school administrators revealed a positive relationship at the .01 level of significance (rxy = 0.584).
6. The analysis results revealed that three factors affecting the success of academic affairs administration, including teachers (X2), students (X3), and school administrators (X1), were able to predict the success of academic affairs administration of school administrators with 33.9 percent.
7. Guidelines for developing factors affecting the success of academic affairs administration of school administrators covered the following aspects: Teachers: administrators should support teachers to participate in professional development. Students: administrators are required to engage in monitoring students’ academic progress and providing support to teachers in presenting such progress. School Administrators: Administrators are advised to organize educational visits to exemplary settings that demonstrate effective leadership practices.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,139.86 KB |