สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และหาแนวทางส่งเสริมปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหารและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 330 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.26 – 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t – test, One - Way ANOVA ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครู จำแนกตามขนาดโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตาม ระดับการศึกษาและขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครู จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยที่ส่งผลกับการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.11)
6. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน มีตัวแปร 3 ตัวแปร ที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านวัฒนธรรมสถานศึกษา โดยทั้ง 3 ตัวแปรร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 60 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้
สมการในรูปคะแนนดิบ คือ Y´ = 3.43 + 0.13X2 + 0.15X3 + 0.11X5
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zy´ = 0.17Z2 + 0.23Z3 + 0.13Z5
7. แนวทางส่งเสริมปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผู้บริหารควรมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ภาพแห่งอนาคตในการพัฒนานักเรียน ด้าน ความพึงพอใจในการทำงานของครู ผู้บริหารต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาด้านการทำงานของครู เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ด้านวัฒนธรรมสถานศึกษา ผู้บริหารควรเน้นการทำงานที่มีผลงานคุณภาพ มีความสามัคคีในการทำงาน สร้างความสัมพันธ์ ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และสร้างวัฒนธรรมขององค์การให้มีความเข้มแข็ง
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of factors affecting the school operations of student development activities, and establish guidelines to promote factors affecting the operations of the student development activities in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample, obtained through multi-stage random sampling, consisted of administrators and teachers, yielding a total of 330 participants working in schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020. The research tools were interview forms and a set of 5-point scale questionnaires with the predictive power between 0.26 and 0.92, and the reliability of 0.91. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested using t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The overall factors affecting the school operations of student development activities were at a high level.
2. The factors affecting the school operations of student development activities as perceived by participants with different educational background, and work experience showed no difference, whereas in terms of school sizes, they were different at the .01 level of significance.
3. The overall school operations of student development activities were at a high level.
4. The school operations of student development activities as perceived by participants with different educational background, and school sizes showed no difference, whereas in terms of work experience, they were different at the .01 level of significance.
5. The factors affecting the school operations of student development activities had a positive relationship at the .05 level of significance (r = 0.11).
6. The factors affecting the school operations of student development consisted of three variables that were correlatively able to predict the school operations of student development activities accounting for 60 percent of variation at the .01 level of significance, including school administrators’ vision, and teachers’ job satisfaction, whereas school culture achieved at the .05 level of significance. The predictive equation could be written in raw scores and standardized scores, respectively as follows: Y´ = 3.43 + 0.13X2 + 0.15X3 + 0.11X5 and Zy´ = 0.17Z2 + 0.23Z3 + 0.13Z5
7. Guidelines for promoting factors affecting the school operations of student development activities consisted of three aspects needing improvement, including school administrators’ vision; administrators should have knowledge background on student development activities to shape a future vision for developing students. In terms of teachers’ job satisfaction, administrators must promote and develop teachers in terms of work performance to acquire professional knowledge and job performance skills. Regarding school culture, administrators should focus on the quality of task completion, creating workplace harmony, building relationship on a regular basis, and building a strong organizational culture.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,953.05 KB |