ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Administrative Factors Affecting Digital Skills of School Administrators under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
บุญชู ใจใส รหัส 62421229126 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล, ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 และหาแนวทางส่งเสริมทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน  324 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.28–0.95 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.87)

2. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนแตกต่าง ไม่แตกต่างกัน

3. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77)

4. ทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน  และขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนกับทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.14)

6. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่มีต่อทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มีตัวแปร 3 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านบริหารวิชาการ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 22 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้
          สมการในรูปคะแนนดิบ คือ  Y´ = 3.11 + 0.46X3+ 0.54X4+ 0.23X1
          สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zy´ = 0.51Z3+ 0.57Z4+ 0.19Z1

7. แนวทางส่งเสริมปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เสริมสร้างการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติและการสนับสนุนของบุคลากรและสภาพ แวดล้อมทางกายภาพที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องโลกแห่งความจริงตามบริบท ศตวรรษที่ 21 ด้านบริหารวิชาการ ได้แก่ ผู้บริหารควรมีศักยภาพนำการเปลี่ยนแปลงโดยการกระตุ้นและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนวัตกรรมดิจิทัลผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ มีการพัฒนาบุคลากรภายในสถานศึกษาให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและมีทักษะดิจิทัลเพื่อจะได้นำความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อการพัฒนางานและพัฒนาองค์กร 
 

Abstract

This research aimed to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power for administrative factors affecting digital skills of school administrators under  Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 (PESAO), and establish the guidelines for promoting digital skills of school administrators under Nakhon Phanom PESAO 2. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 324 participants, including administrators and teachers working in schools under Nakhon Phanom PESAO 2 in the academic year 2020. The research tools comprised interview forms and a set of 5-rating scale questionnaires with discrimination values from 0.28 to 0.95, and a reliability of 0.89. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation. Hypothesis was tested using t-test, One-Way ANOVA, Pearson's Product Moment Correlation, Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The overall school administrative factors under Nakhon Phanom PESAO 2 were at a high level ( = 3.87).

2. The school administrative factors as perceived by participants classified by statuses, education levels, work experiences, and school sizes showed no difference.
3. The digital skills of school administrators under Nakhon Phanom PESAO 2 as a whole were at a high level ( = 3.77).

4. The digital skills of school administrators under Nakhon Phanom PESAO 2 as perceived by participants differed at the .01 level of significance, whereas there were no differences in terms of education levels, work experiences, and school sizes.

5. The administrative factors and the digital skills of school administrators had a positive relationship at the .05 level of significance (r = 0.14).

6. The administrative factors affecting digital skills of school administrators comprised three variables which were able to predict school administrators’ digital skills at the .01 level of significance. The said variables were academic affairs administration, and basic infrastructure, whereas the environment variable achieved the .05 level of significance and had forecasting coefficient at 22 percent. The regression equation of raw scores could be written as follows: Y´ = 3.11 + 0.46X3 + 0.54X4 + 0.23X1. The regression equation of standard scores could be written as follows: Zy´ = 0.51Z3 + 0.57Z4 + 0.19Z1.

7. The guidelines for promoting administrative factors affecting digital skills of school administrators under Nakhon Phanom PESAO 2 were proposed: In terms of environment, school administrators should enhance learners’ learning using “learning by doing” approach, and support personnel  and physical environment to empower learners to engage in real-world learning in  the 21st century context. In terms of academic affairs administration, school administrators should be willing to lead change initiatives by stimulating and raising awareness of the importance and the changes of digital innovation technologies to fully transform work processes. In terms of infrastructure, school administrators should provide technology and digital skills training for personnel, and opportunities to apply their knowledge and experience in digital technology for work and organization development.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร , ทักษะดิจิทัล
Keywords
Administrative Factors, Digital Skills
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,473.88 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 14:48:39
View 969 ครั้ง


^