ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
The Relationship between School Administrators’ Leadership and Teachers’ Performance Motivation under the Secondary Educational Service Area Office 21
ผู้จัดทำ
ณัฐธิดา สุระเสนา รหัส 62421229128 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ , รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 21 เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจังหวัดที่ต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู  และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 335 คนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 76 คน และครูผู้สอน จำนวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหาร    มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที(t-test)  ชนิด Independent Samples  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearsons’ product-moment correlation coefficient)

    ผลการวิจัย พบว่า

 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียนและจังหวัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ ผู้บริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้ความช่วยเหลือครูทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรให้ความไว้วางใจครูในการปฏิบัติงาน และ 2) แนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสำเร็จของงาน ส่งเสริมให้ครูตระหนักและเน้นความสำคัญในการทำงาน ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ มอบหมายงานหน้าที่ความรับผิดชอบให้ตรงตามความสามารถและความสนใจของครู ด้านสภาพการทำงาน ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตามและตรวจสอบการทำงานของครูอย่างต่อเนื่อง และด้านความสัมพันธ์กับ เพื่อนร่วมงาน ควรจัดกิจกรรมให้ครูได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
 

Abstract

The purposes of this research were: to explore the levels of school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation, to compare the levels of school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation, classified by positions, school sizes, work experiences, and provinces, to examine the relationship between school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation, and to establish guidelines for developing school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation. The sample consisted of 335 participants, The samples, obtained through Stratified Random Sampling, including 76 school administrators and 259 teachers working under the Secondary Educational Service Area Office 21 in the 2020 academic year. The research instruments for data collection were a set of questionnaires, comprising school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation with the reliability of .94 and .93, respectively, and interview forms on guidelines for developing school administrators’ leadership affecting teaches’ performance motivation. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient. 

The findings were as follows:

1. Leadership of school administrators as a whole and in each aspect was at a high level.

2. Performance motivation of teachers as a whole and in each aspect was at a high level.

3. Leadership of school administrators as perceived by participants with different positions, school sizes, and work experiences as a whole differed  at the level of .01 of significance overall, whereas in terms of provinces, overall, there was no difference.

4. Performance motivation of teachers as perceived by participants with different positions and work experiences as a whole was different at the level of .01 of significance, whereas in terms of school sizes and provinces, overall, there was no difference.

5. The leadership of school administrators and performance motivation of teachers had a positive correlation at a moderate level at the .01 level of significance. 

6. The guidelines for developing school administrators’ leadership and teachers’ performance motivation included two aspects as follows: 1) School administrators’ leadership consisted of Relation-Oriented Leadership; school administrators must build a good professional relationship and provide fair assistance to individual teachers. In terms of Participative Leadership, school administrators should build trust among teachers in performing tasks, and 2) Guidelines for developing teachers’ motivation performance consisted of four aspects: Firstly, perceived task achievements; school administrators should raise teachers’ awareness and focus on the importance of work performance. Secondly, job characteristics; school administrators should assign teachers to perform job duties and responsibilities that suit their abilities and interests. In terms of working conditions, school administrators should provide continuous supervision, monitoring and inspection of teachers’ performance.In terms of coworker relationship, school administrators should organize activities to create opportunities for teacher collaboration by concentrating on teachers’ joint work and sharing knowledge.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร , แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู
Keywords
Administrative Leadership, Teachers’ Motivation Performance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,513.26 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:46:56
View 814 ครั้ง


^