สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 342 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 106 คน ครูผู้สอน จำนวน 130 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 106 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบเป็นรายคู่เชฟเฟ่ (Scheffé-Method) หรือ LSD หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บึงกาฬ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่มีต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่าง
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหาร และประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวม (RES = .527) สัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 6 ด้าน พบว่า มี จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผล ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้
7.1 ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา บริหารควรส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความรู้ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะ เทคนิค วิธีการ ด้านเทคโนโลยี การนำสื่อ เทคโนโลยีมาใช้ ตามแผนการดำเนินงานของโรงเรียน ส่งเสริมครูและบุคลากรในสถานศึกษาเข้ารับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถมาพัฒนาต่อยอดศึกษาดูงานโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษาดีเด่น
7.2 ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารที่ดีต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ความยุติธรรมในการทำงาน ให้กำลังใจแก่คณะครูในโรงเรียน มอบหมายงานตรงตามความถนัด การโน้มน้าวใจให้เกิดความพึงพอใจที่จะปฏิบัติงาน สร้างบรรยากาศของโรงเรียนให้เป็นบรรยากาศวิชาการ บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ มีนโยบายที่ชัดเจนและกล้าเปลี่ยนแปลง
The purposes of this research were to investigate, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for administrative factors affecting school effectiveness under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as perceived by school administrators, teachers, and chairmen of Basic Education Board, classified by positions, and school sizes. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 106 school administrators, 130 teachers, and 106 chairmen of Basic Education Board. The research instrument was a set of questionnaires concerning administrative factors and school effectiveness. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Scheffé–Method or LSD, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrative factors in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as a whole were at the highest level.
2. The effectiveness of schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as a whole was at the highest level.
3. The administrative factors affecting effectiveness of schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as perceived by participants, classified by positions as a whole were different at the .01 level of significance.
4. The administrative factors affecting effectiveness of schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office as perceived by participants, classified by school sizes as a whole were different at the .01 level of significance.
5. The relationship between administrative factors and effectiveness of schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office was positive
(RES = .527) at the .01 level of significance.
6. The administrative factors affecting school effectiveness under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office consisted of six variables. Two variables in terms of educational technology, and performance motivation were able to predict school effectiveness as a whole at the .01 level of significance.
7. Guidelines for developing administrative factors affecting effectiveness of schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office involved:
7.1 Educational Technology. These included providing opportunities for teachers and personnel to improve their professional development in terms of information technology, technological skills, techniques and approaches, technology utilization following school operations, supporting teachers and personnel’ s training for technology integration, and visiting best practices of schools with outstanding educational management using information technology.
7.2 Performance motivation. School administrators must be good role models. School administrators should also perform the following functions and qualities to create performance motivation: offering fair tasks, supporting teachers’ morale, assigning tasks to suit individual capability, influencing personnel’s motivation in performing tasks, creating academic and learning atmosphere, having clear policies, and being a change agent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,908.29 KB |