สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 376 คน ได้มาโดยใช้ตารางกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan) ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) ผู้บริหารโรงเรียน จํานวน 110 คน และครูผู้สอน จํานวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.893 ตอนที่ 2 ความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล มีค่าความเชื่อมั่น 0.980 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product – moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน และความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนได้คือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากร ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียน เสนอแนะไว้จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากร
The purposes of this research were to explore, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing administrative factors affecting successful administration practices based on good governance principles in schools under Amnatcharoen Primary Educational Service Area Office. The sample, obtained through multi-stage random sampling and Krejcie and Morgan’s table for sample size determination, consisted of 376 participants, including 110 school administrators and 266 teachers at primary schools under Amnatcharoen Primary Educational Service Area Office in the 2020 academic year. The tool for data collection was a set of 5-point rating scale questionnaires, comprising Section 1 administrative factors with the reliability of 0.893 and Section 2 successful school administration practices based on good governance principles with the reliability of 0.980, and a structured interview form. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product moment correlation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The overall administrative factors of school administrators were at a high level.
2. The overall successful administration practices based on good governance principles in schools were at a high level.
3. The overall administrative factors of administrators in schools, classified by participants’ positions and work experience, were not different. In terms of school sizes, there was an overall difference at the .01 level of significance.
4. The overall successful administration practices based on good governance principles in schools, classified by participants’ positions and work experience, were not different, whereas in terms of school sizes, there was an overall difference at the .01 of significance.
5. The administrative factors and the successful administration practices based on good governance principles in schools had positive relationship with the .01 level of significance overall.
6. The four administrative factors were able to predict the successful administration practices based on good governance principles in schools, including leadership, personnel development, administrative management, and information technology.
7. The guidelines for developing administrative factors affecting the successful administration practices based on good governance principles in schools involved four aspects, including leadership, personnel development, administrative management, and information technology.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,710.27 KB |