สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู และหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 351 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ผู้อำนวยการ จำนวน 102 คน และครูผู้สอน จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 พฤติกรรมผู้บริหารสถาน ศึกษามีค่าความเชื่อมั่น .835 ด้านที่ 2 การปฏิบัติงานของครู มีค่าความเชื่อมั่น .867 และ 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA และใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า
1. พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3. พฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ได้แก่
6.1 แนวทางพัฒนาพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษามี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วม ผู้บริหารเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และวางแผนในการปฏิบัติ ให้ความไว้วางใจ ยอมรับนับถือ และเชื่อมั่นในการทำงานของบุคลากร 2) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กรและขจัดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ต้องให้เกียรติและเคารพสิทธิของผู้ใต้บังคับบัญชาและ รับฟังความคิดเห็น และ 3) ด้านการจูงใจ ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงานมอบ หมายภารกิจ แบ่งหน้าที่ชัดเจน เป็นการกระจายอำนาจ ต้องพัฒนาความรู้และทักษะในด้านการสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้เกิดขึ้น
6.2 แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของครู ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องหาการสนับสนุน เพื่อให้มีงบประมาณ ให้ครูมีสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนมากขึ้น ผู้บริหารต้องนิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างสม่ำเสมอ
The purposes of this research aimed to study and compare behaviors of school administrators and teacher performance, and to examine the relationship between behaviors of school administrators and teacher performance under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3. The sample, obtained through proportional Multi-stage Sampling, was 102 school administrators, and 249 teachers, yielding a total of 351 participants from schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year 2020. The research instruments for data collection included: 1) a set of rating scale questionnaires containing two aspects: Aspect 1- behaviors of school administrators with a reliability of .835; Aspect 2- teacher performance with a reliability of .867; and 2) Interview forms. Statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation.
The findings were as follows:
1. School administrators’ behaviors, as perceived by participants as a whole and each aspect were at a high level.
2. Teachers’ performance, as perceived by participants as a whole and each aspect were at the highest level.
3. Overall school administrators’ behaviors, as perceived by participants from different positions and school sizes showed no difference. In terms of work experience, there were overall different at the.01 level of significance.
4. Overall teacher performance, as perceived by participants from different position and school sizes were not different. In terms of work experiences, they were different at the .01 level of significance overall and in each aspect.
5. School administrators’ behaviors and teacher performance had a positive relationship at a high level with the .01 statistical significance level.
6. Guidelines for developing school administrators’ behaviors and teacher performance under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 involved:
6.1 Guidelines for developing school administrators’ behaviors included three aspects: 1) Participation. School administrators should give personnel opportunities to participate in setting goals, policies, and planning actions. School administrators should also demonstrate their trust, acceptance, and confidence in the performance of personnel contributing to the success of their schools; and 2) Public relations, school administrators must build good relationship within the organization and eliminate any conflicts arising, show respect to the right of subordinates, and listen to their opinions; and 3) Morale. School administrators must create work motivation in assigning tasks, assigning roles and responsibilities clearly to decentralize. School administrators must also improve knowledge and skills in the areas of creating inspiration and motivation.
6.2 Guidelines for improving teacher performance in terms of learning management. School administrators must seek for budget allocation support to a provide more teaching and learning materials. School administrators must regularly supervise, monitor, and audit teachers' learning management.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 10,989.66 KB |