ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Participative Administration Affecting an Effectiveness of the Academic Affairs Administration in Schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้จัดทำ
ไชยา หานุภาพ รหัส 62421229136 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 2) เปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมและประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนและ 5) หาแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการ ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 344 คน ได้มาโดยในการสุ่ม แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหาร จํานวน 103 คน และครูผู้สอน จํานวน 241 คน จากจำนวน 103 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 

1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตาม ขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5. การบริหารแบบมีส่วนร่วม กับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

6. การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยทั้ง 4 ด้าน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านความยึดมั่นผูกพัน (X2) ด้านการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน (X1) ด้านการไว้วางใจกัน (X4) และด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน (X3) 
          สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
             Y’ = 0.878 + 0.237 X2 + 0.235 X1 + 0.191 X4 + 0.135 X3
          และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
             Z’ = 0.288 Z X2 + 0.267 Z X1 + 0.232 ZX4 + 0.155 ZX3 

7. แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ด้านความยึดมั่นผูกพัน ด้านความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน และด้านการไว้วางใจกัน
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the level of participative administration and the effectiveness of academic affairs administration in schools under Primary Educational Service Area Office 3 Udon Thani ; 2) compare the participative administration and the effectiveness of school academic affairs administration as perceived by school administrators and teachers with different working positions, school sizes, and work experiences; 3) determine the relationship between the participative administration and the effectiveness of school academic affairs administration; 4) identify the predictive power of the participative administration affecting the effectiveness of school academic affairs administration; and 5) establish the guidelines for developing  the participative administration affecting the effectiveness of school academic affairs administration. The samples were collected using multi-stage sampling consisted of a total of 344 participants, including 103 school administrators and 241 teachers from 103 schools under  Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3 in the 2020 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires on the participative administration affecting the effectiveness of school academic affairs administration. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t–test (Independent Samples), One–Way ANOVA, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

    The findings were as follows:

1. The participative administration, as a whole and in each aspect was at a high level.

2. The effectiveness of school academic affairs administration, as a whole and in each aspect was at a high level.

3. The participative administration as perceived by school administrators and teachers with different working position and work experiences differed at the .01 level of significance overall. In terms of school sizes, the overall opinions of participants differed at the .05 level of significance, whereas there were, overall and in each aspect, not differences in terms of work experiences.

4. The effectiveness of school academic affairs administration as perceived by school administrators and teachers from different school sizes and work experiences, differed at the .01 level of significance overall. The overall opinions of participants, classified by school sizes, were different at the .05 level of significance, whereas they were not different in terms of work experiences overall and in each aspect. 

5. The participative administration and the effectiveness of school academic affairs administration, as a whole had a positive relationship at the .01 level of significance.

6. The participative administration comprised four aspects which were able to predict the effectiveness of school academic administration at the .01 level of significance. The said aspects were commitment (X2), setting goals and objectives together (X1), trust (X4) and job autonomy (X3). 
            The regression equation of raw scores could be written as follows:
                     Y’ = 0.878 + 0.237 X2 + 0.235 X1 + 0.191 X4 + 0.135 X3    
            The regression equation of standard scores could be written as follows:
                  Z’ = 0.288 ZX2 + 0.267 ZX1 + 0.232 ZX4 + 0.155 ZX3  

7. The guidelines for developing the participative administration affecting the effectiveness of school academic affairs administration involved four aspects: setting the goals and objectives together, commitment, job autonomy, and trust.
 

คำสำคัญ
การบริหารแบบมีส่วนร่วม , ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน
Keywords
Participative Administration, Effectiveness of School Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,916.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 01:23:41
View 1206 ครั้ง


^