สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 339 คน โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 133 คน และครูผู้สอน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test, One-Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นมากกว่าครูผู้สอน
3. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร สัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรการพัฒนาผู้เรียน และการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ร้อยละ 79.20 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±.22792
7. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนามีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากร การพัฒนาผู้เรียนเรียนการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
The purposes of this research aimed to determine the factors of instructional leadership of school administrators that affected the effectiveness of teachers’ learning management in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The samples obtained through multi-stage random sampling, were 133 school administrators and 226 teachers, yielding a total of 339 participants from schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office in the academic year 2020. The instrument for data collection was a set of questionnaires comprising two aspects: Aspect 1: Factors of instructional leadership of school administrators with a reliability of 0.987; Aspect 2: Effectiveness of instructional management of teachers with a reliability of 0.973. The statistics for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done through t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The factors of school administrators’ instructional leadership, as perceived by participants as a whole were at the highest level, while the effectiveness of teachers’ learning management was at a high level.
2. The factors of school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of teachers’ learning management, as perceived by participants classified by positions, as a whole showed a statistical significance of .01 level. School administrators declared opinions more than teachers.
3. The factors of school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of teachers’ learning management, as perceived by participants classified by different school sizes showed a statistical significance of .01 level.
4. The factors of school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of teachers’ learning management, as perceived by participants classified by different work experience, as a whole showed a statistical significance of .01 level.
5. The relationship between the factors of school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of teachers’ learning management showed a positive relationship at a statistical significance of .01 level.
6. The factors of school administrators’ instructional leadership regarding professional development of teachers and personnel, learner development, and a conducive learning atmosphere, and a school education quality assessment could predict the effectiveness of teachers’ learning management, as a whole at a statistical significance of .01 level, with a predictive power of 79.20 percent, and the standard Error of Estimate of ±.22792.
7. The factors of instructional leadership of school administrators requiring improvement involved four aspects: professional development of teachers and personnel, learner development, creation of a conducive atmosphere, and a school education quality assessment.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 16,205.08 KB |