ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Administrational Factors Affecting The Success of Educational Quality Assurance Operation of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้จัดทำ
อนุพงศ์ ไชยบุตร รหัส 62421229143 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 339 คน ได้มาโดยในการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 67 คน และครู จำนวน 272 คน จากจำนวน 45 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารและความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหาร ตามทัศนะของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน

4. ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารและครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน

5. ปัจจัยการบริหาร โดยรวม (X) กับความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Y) โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r= 0.85)

6. ปัจจัยการบริหาร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 4 ด้าน พบว่า มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาได้ ได้แก่ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ (X3) ด้านการบริหารหลักสูตร (X4) และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.90  และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.109

7. แนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ได้แก่ ทุกคนในโรงเรียนจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดี ด้านการบริหารหลักสูตร ได้แก่ การวางแผนดำเนินการที่ชัดเจน และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ได้แก่ การคำนึงถึงจุดเด่น จุดด้อยของสถานศึกษา
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing the administrational factors affecting operational success of the educational quality assurance in schools under the Secondary Educational Service Area Office 23. The samples were collected using multi-stage sampling consisted of 67 administrators  and  272 teachers, yielding a total of 339 participants from 45 schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 in the academic year 2020.  The data collection instrument was a set of questionnaires on school administrative factors and operational success of the educational quality assurance in schools. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t–test (Independent Samples), One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings found were as follows:

1. The administration factors as perceived by participants were at a high level.

2. The operational success of the educational quality assurance in schools as perceived by participants was at a high level. 

3. The administration factors as perceived by participants with different positions as a whole and in each aspect were at the .01 level of significance in all aspects, whereas in terms of school sizes, there were no differences. In terms of work experience, it was at the .01 level of significance in all aspects.

4. The operational success of the educational quality assurance in schools as perceived by participants with different positions was at the .05 level of significance, whereas in terms of school size, it was at the.05 level of significance. In terms of work experience, it was at the .01 level of significance.

5. The overall administration factors (X) and the overall operational success of the educational quality assurance in schools (Y) had positive relationshipt a high level (r = 0.85) with the .01 level of significance.

6. The four administration factors were analyzed and found three aspects that could predict the operational success of the educational quality assurance in schools, i.e.., environment and atmosphere management (X3), curriculum administration (X4), and vision setting (X1), with the predictive power at 73.90 percent and the standard error of prediction equivalent to ±.109.

7. The guidelines for developing administration factors affecting the operational success of the educational quality assurance in schools included three aspects needing improvement: Firstly, environment and atmosphere management including everyone in schools joining together to create a pleasant environment and atmosphere. Second, curriculum administration, such as clear operational planning. Lastly, vision setting, such as referring to strength and weaknesses of schools.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร , การประกันคุณภาพการศึกษา
Keywords
Administrational Factors, Educational Quality Assurance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,243.85 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 09:41:05
View 1115 ครั้ง


^