สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลของโรงเรียน และหาแนวทางพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 353 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 85 คน และครูผู้สอน 268 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .505-.884 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .933 และแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .562-.939 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน
3. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ในภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 809)
6. แนวทางในการพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน จำนวน 3 ด้าน จากทั้งหมด 6 ด้าน คือ ด้านความสำเร็จของงาน ด้านเงินเดือนหรือผลประโยชน์เกื้อกูล ด้านสภาพการทำงาน และแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน จากทั้งหมด 6 ด้าน คือ ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ด้านการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและเป้าหมายของโรงเรียน ด้านความคาดหวังของโรงเรียนที่มีต่อนักเรียน ด้านความเอาใจใส่ต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
The purposes of this research were to examine, compare and determine the relationship between job satisfaction of teachers and school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 23 (SESAO), and to establish the guidelines for developing job satisfaction of teachers and school effectiveness under the SESAO 23. The sample consisted of 353 participants, including 85 school directors and 268 teachers under the SESAO 23 in the 2019 academic year, selected through the Krejcie and Morgan table for sample size determination, and multi-stage random sampling. The research tool for data collection was a set of 5-scale questionnaires, including a set of questionnaires on teachers’ job satisfaction with the discrimination ranging from .505 to .884 and a reliability of .933; and a set of questionnaires on school effectiveness with the discrimination ranging from .562 to .939, and a reliability of .950. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.
The findings were as follows:
1. Teachers’ job satisfaction and school effectiveness as perceived by participants were overall at a high level.
2. Teachers’ Job satisfaction and school effectiveness as perceived by participants, classified by positions, were different overall at the .01 level of significance. School directors exhibited opinions at a higher level than teachers.
3. Teachers’ Job satisfaction and school effectiveness as perceived by participants, classified by work experience, were different overall at the .01 level of significance.
4. Teachers’ Job satisfaction and school effectiveness as perceived by participants, classified by school sizes, were different overall at the .01 level of significance.
5. Teachers’ Job satisfaction and school effectiveness as perceived by participants overall and in each aspect had a positive relationship at a high level (r = 0.809) with the .01 level of significance.
6. The guidelines for developing teachers’ job satisfaction and school effectiveness needing improvement consisted of three out of six aspects of teachers’ job satisfaction, namely work achievement, remuneration or benefits, and working conditions. The guidelines for developing school effectiveness consisted of four out of six aspects, namely atmosphere and environment, setting roles, responsibilities and school goals, school expectations in students, and attention in learning management qualities.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,568.29 KB |