ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Administrators’ Leadership Affecting the Administrative Effectiveness at Phrapariyattidhamma School in the General Education Division Group 8 under the National Office of Buddhism
ผู้จัดทำ
นฤมล สุวรรณรงค์ รหัส 62421229148 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงาน ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูพระและครูฆราวาส จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน และ 5) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพระและครูฆราวาส ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 205 รูป / คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 84 รูป / คน และครูผู้สอน จำนวน 121 รูป / คน แยกเป็นครูพระ จำนวน 44 รูป และครูฆราวาส จำนวน 77 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผล การบริหารงานในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ (X2) ภาวะผู้นำทางวิชาการ (X5) และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X3) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X4) ซึ่งสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ 
            Y’ = 1.50 + 0.33 X2 + 0.32 X5 + 0.30 X3 +0.23 X4     
            Z’ = 0.42 ZX2 + 0.41 ZX5 + 0.29 ZX3 + 0.23 ZX4

5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
การบริหารงานในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านภาวะผู้นำแบบ
มุ่งความสัมพันธ์ผู้บริหาร ควรสร้างแรงจูงใจที่ดีให้ครูได้ใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ 2) ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผน การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และชื่นชมความสำเร็จจากการปฏิบัติงาน 3) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาแสวงหาความรู้และเทคนิควิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และ 4) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีการนิเทศ กำกับติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine the level of administrators’ leadership and the administrative effectiveness at Phrapariyattidhamma School in the General Education Division Group 8 under the National Office of Buddhism; 2) to compare administrators’ leadership and the administrative effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experiences; 3) to explore the relationship between administrators’ leadership and the administrative effectiveness; 4) to identify the predictive power of administrators’ leadership affecting the administrative effectiveness; and 5) to establish the guidelines for developing administrators’ leadership affecting the administrative effectiveness. The samples consisted of 84 school administrators, and 121 teachers with 44 monk teachers and 77 lay teachers, yielding a total of 205 participants working at Phrapariyattidhamma School in the General Education Division Group 8 under the National Office of Buddhism in the 2019 academic year. The samples obtained through multi-stage random sampling, The instrument for data collection was a set of questionnaires and interview forms. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrators’ leadership as a whole and in each aspect was at a high level, while the school’s administrative effectiveness as a whole and in each aspect was at a high level.

2. The administrators’ leadership and the administrative effectiveness, as perceived by participants with different positions, as a whole differed at the .01 level of significance, but there were not differences in terms of school sizes and work experiences overall.

3. The administrators’ leadership and the administrative effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance overall.

4. The administrators’ leadership comprised four aspects, which were able to predict the administrative effectiveness as a whole and in each aspect at a statistical significance of .01. The said factors comprised: relationship-oriented leadership (X2), and instructional leadership (X5), and participative leadership (X3). The factor which was at the .05 level of significance consisted of transformational leadership (X4). The regression equation of raw scores and standard scores could be written as follows:
            Y’ = 1.50 + 0.33 X2 + 0.32 X5 + 0.30 X3 +0.23 X4     
            Z’ = 0.42 ZX2 + 0.41 ZX5 + 0.29 ZX3 + 0.23 ZX4

5. Guidelines for developing administrators’ leadership affecting the administrative effectiveness proposed four aspects needing improvement:  1) relationship - oriented leadership, in terms of building good motivation for teachers to perform to the best of their abilities; 2) participative leadership,  in terms of offering opportunities for teacher participation in school planning, performance measurement, and evaluation, and work appraisals; 3) transformational leadership, in terms of encouraging and supporting teachers and educators to seek for new information and approaches into practice continuously; and 4) instructional leadership, in terms of supporting supervision, monitoring and evaluation of instruction management for effective teaching and learning.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ,ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน
Keywords
Administrators’ Leadership, School Administrative Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,873.83 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:18:31
View 618 ครั้ง


^