ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษา ระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร
Administrative Factors Influencing the Educational Management Effectiveness of a Dual Vocational Education System in the Colleges under Sakon Nakhon Vocational Education
ผู้จัดทำ
นิพล แก้วกาหลง รหัส 62421229149 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร , ดร.สุมัทนา หาญสุริย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และหาแนวทางส่งเสริมการจัดการ ศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริหาร ครู นักศึกษาและผู้จัดการสถานประกอบการที่จัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2663 จำนวน 372 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีค่าอำนาจจำแนกทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.30–0.97 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร โดยรวม อยู่ในระดับมาก 

2. ปัจจัยทางการบริหารของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง อายุ ประเภทสถานศึกษา และระดับการเปิดการเรียนการสอน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร อยู่ในระดับมาก

4. ประสิทธิผลการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร โดยรวม จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประเภทสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05  ตามลำดับ ส่วนจำแนกตามอายุและระดับการเปิดการเรียนการสอน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.18)

6. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร มีตัวแปร 4 ตัวแปร ที่สามารถพยากรณ์การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านสถานประกอบการและความร่วมมือ ด้านการวัดและประเมินผลด้านบุคลากรและด้านการประชาสัมพันธ์

 7. แนวทางส่งเสริมการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 1) ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์การเข้าศึกษาในอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทั้งในรูปแบบเอกสาร วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ สื่อออนไลน์ 2) ด้านสถานประกอบการและความร่วมมือ ได้แก่ หามาตรการว่าด้วยการควบคุมคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 3) ด้านบุคลากร ได้แก่ ควรจัดอบรมบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาและสถานประกอบการ ให้เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง และ 4) ด้านการวัดและประเมินผล ได้แก่ สถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันจัดสอบเพื่อการจบหลักสูตรของนักเรียน  มีการประเมินผลตรงตามศักยภาพของนักเรียน มีความยุติธรรมในการประเมินผลการเรียนรู้ 
 

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, and determine a relationship, identify the predictive power of administrative factors influencing the educational management effectiveness of a dual vocational education system, and establish guidelines for supporting the educational management of a dual vocational education system in the colleges under Sakon Nakhon Vocational Education. The samples were 372 participants, obtained through multi-stage random sampling, consisting of administrators, teachers, students, and workplace managers who coordinated to deliver a dual vocational education system with the colleges under Sakon Nakhon Vocational Education in the 2020 academic year. The research instruments were interview forms and a set of rating scale questionnaires with a discriminative power ranging between 0.30 and 0.97 and the reliability of 0.91. Statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis was tested using t – test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.    

The findings were as follows:

1. The administrative factors, as a whole were at a high level.

2. The administrative factors, classified by positions, age group targeted, the type of educational institution, and the level of program provision, as a whole showed no difference.

3. The educational management effectiveness as a whole was at a high level.

4. The educational management effectiveness, classified by positions, and the type of educational institution differed at the .01 and .05 levels of significance, respectively. The overall educational management effectiveness showed no differences in terms of age group targeted and the level of program provision. 

5. The administrative factors and the educational management effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance (r = 0.18).

6. The administrative factors influencing the educational management effectiveness consisted of four variables which were able to predict the educational management of a dual vocational education system with the .01 level of significance, namely Workplace and Cooperation, Measurement and Evaluation, Personnel, and Public Relations.

7. The guidelines for supporting the educational management of a dual vocational education system in the colleges under Sakon Nakhon Vocational Education consisted of: 1) Public relations; admission to a dual vocational education system in the forms of documents, radio broadcasting, newspapers, and online media, 2) Workplace and Cooperation; setting measures on quality control in terms of a dual vocational education system management, 3) Personnel; a provision of training sessions to improve understanding of individual roles for personnel who were in charge of educational management of a dual vocational education system between educational institutes and workplaces, and 4) Measurement and Evaluation; educational institutes and workplaces should jointly organize examinations for degree completion. The evaluation should also meet the students’ potential and be equitable in terms of learning evaluation. 
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร , การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
Keywords
Administrative Factors, Dual Vocational Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,643.80 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 กันยายน 2564 - 09:43:12
View 782 ครั้ง


^