ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Teacher Development in Learning Management for Safe Agricultural Methods at Chumchon Chiang Khruea Ratrangsan School Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
สิทธิศักดิ์ พุ้ยมอม รหัส 62421229150 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.สุมัทนา หาญสุริย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้ ด้านเกษตรปลอดภัย หาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย และติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและบุคลากร นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน PAOR 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการประชุม แบบนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 
            1.1 สภาพในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย พบว่า โรงเรียนไม่มีการจัดทำแผนงาน โครงการและปฏิทินจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ขาดนโยบายและแผนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย ในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนและคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วม ขาดการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน
            1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย พบว่า บุคลากรในโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านเกษตรปลอดภัย ไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมด้านเกษตรปลอดภัย ครูผู้สอนยังไม่ถนัดในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โครงสร้างของการบริหารกิจกรรมไม่มีความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1  
ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาครู และการนิเทศภายใน ในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการนิเทศแบบให้คำชี้แนะในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย

3. ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย โรงเรียนชุมชนเชียงเครือราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า 
            3.1 ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยวงรอบที่ 1 พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย เรื่องการจัดการฟาร์มเกษตรปลอดภัยการปรับปรุงบำรุงดิน และการจัดการศัตรูพืช หลังจากการพัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมส่วนการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย เรื่องการเลือกพื้นที่ผลิตเกษตรปลอดภัย การเก็บรักษาและ การขนส่ง หลังจากการพัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม จึงนำไปพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางในการพัฒนาคือการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ 
            3.2 ผลการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยวงรอบที่ 2 พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย ในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2  เรื่องการเลือกพื้นที่ผลิตเกษตรปลอดภัย มีค่าคะแนนเฉลี่ยในวงรอบที่ 2 สูงกว่าในวงรอบที่ 1 โดยมีค่าเฉลี่ย 0.78 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 53.79 และเรื่องการเก็บรักษาและการขนส่ง  มีค่าคะแนนเฉลี่ยในวงรอบที่ 2 สูงกว่าในวงรอบที่ 1 โดยมีค่าเฉลี่ย 1.17 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 72.22
 

Abstract

The purposes of this research were to examine conditions and problems on learning management for safe agricultural methods, establish guidelines for developing teachers’ potential on learning management for safe agricultural methods, and monitoring the effects after the implementation of the proposed guidelines. The target group, obtained through purposive sampling, consisted of teachers, personnel, students, committee members of Basic Education Board at Chiang Kruarangsan Community School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2020, yielding a total of 88 participants who involved in a process of learning management for safe agricultural methods. The two spirals of 4-stage participatory action research (PAOR) were employed. The tools for data collection were a set of questionnaires, interview forms, observation records, a meeting minutes form, a form of supervision. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The investigation results concerning conditions and problems in learning management for safe agricultural methods at Chiang Kruarangsan Community School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 revealed that:
            1.1 Regarding conditions of learning management for safe agricultural methods, the school did not have continuous work plans, projects, and calendars. There was also a lack of policies and plans for promoting community participation in managing learning of safe agricultural methods. In terms of school activities, the school did not provide full opportunities for the participation of parents, community, and committee members of the Basic Education Board. Public relations involvement in school activities was also limited.
            1.2 Regarding problems in learning management for safe agricultural methods, school personnel had no knowledge about safe agriculture, and did not see the importance of school activities regarding safe agriculture. In addition, teachers were not keen on managing learning for safe agricultural methods. The administrative structure of school activities also was not ready and available for effective learning management for safe agricultural methods.

2. Guidelines for developing teachers’ potential in learning management for safe agricultural methods revealed that in the first spiral, workshops, learning management and teacher development, and internal supervision were conducted. The second spiral was conducted using coaching supervision.

3. The effects after the teacher development in learning management for safe agricultural methods at Chiang Kruarangsan Community School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 revealed that:
    3.1 In the first spiral, the mean score of participants’ knowledge and perceived understanding after the workshops was higher than the overall mean score regarding learning management for safe agricultural methods, namely safety farming management, soil quality improvement, and pest management, whereas learning management for safe agricultural methods regarding selection of safe agricultural areas, agricultural product storage, and transportation was at a low level in comparison to the overall mean score level. The second spiral was then implemented using coaching supervision.
    3.2 The effects after the second spiral revealed that the mean score of learning management for safe agricultural methods in terms of selection of safe agricultural areas was higher that of at the first spiral with the mean of 0.78, and the progress percentage of 53,79. In terms of agricultural product storage and transportation, the mean score in the second spiral was higher than that of at the first spiral with the mean of 1.17, andthe progress percentage of 72.22.
 

คำสำคัญ
การพัฒนาครู , การจัดการเรียนรู้ , เกษตรปลอดภัย
Keywords
Teacher Development, Learning Management, Safe Agricultural Methods
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,105.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:32:11
View 373 ครั้ง


^