สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 104 คน และครูผู้สอน 250 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .391 - .820 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .956 และแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนก .402 - .855 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .950 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การทดสอบ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบว่าค่าเอฟ (F-Test) มีความต่างกันทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้วิธีการของ Scheffe หรือ LSD ตามความเหมาะสม และหาค่าความสัมพันธ์พหูคูณ (Multiple Correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนการจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.549)
6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาไว้ดังนี้
6.1 การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ด้านความฉลาดมีไหวพริบ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ด้านความสามารถในการจูงใจ ต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ด้านความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต้องมีภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และด้านความมีชีวิตชีวาและอดทน สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ และมีความอดทนในการปฏิบัติงาน
6.2 การพัฒนาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ด้านค่าจ้างและค่าตอบแทน ต้องพิจารณาขั้นเงินเดือนตามความเป็นจริงและมีเหตุผลในการพิจารณา
The purposes of this research aimed to examine, compare, determine the relationship, and establish the guidelines for developing desirable characteristics of school administrators and teacher satisfaction on work performance under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The samples, obtained through the Krejcie and Morgan’s sample size determination table and a multi-stage random sampling, were a total of 354 participants, including 104 school administrators and 250 teachers working under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2020. The instruments for data collection were two sets of 5-level rating scale questionnaires concerning desirable characteristics of school administrators with a discriminative power from .391 to .820 and a reliability of .956, and teacher satisfaction on work performance with a discriminative power from .402 to .855 and a reliability of .950. Statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, and One-Way ANOVA. The Scheffe or LSD method was performed for a pairwise comparison test when the differences existed in F-test value, and to determine the multiple correlation.
The finding were as follows:
1. The overall desirable characteristics of school administrators were at the highest level.
2. The overall teacher satisfaction on work performance was at a high level.
3. The overall desirable characteristics of school administrators as perceived by participants, classified by status differed at .01 level of significance, whereas there were not different in terms of school sizes and work experience in overall.
4. The overall teacher satisfaction on work performance as perceived by participants, classified by status differed at .01 level of significance. In terms of different school sizes, there was not different in overall, whereas the overall perceptions among those with different work experience were significant at .05 level.
5. The desirable characteristics of school administrators and teacher satisfaction on work performance had a positive relationship at .01 level of significance, with a moderate correlation (r = 0.549).
6. This research proposed the development guidelines as follows:
6.1 The development of desirable characteristics yields four categories: Firstly, Intelligence; school administrators must commit to continuous self-improvement: Secondly, an ability to motivate others; school administrators must create work motivation: Thirdly, technology and innovation abilities; school administrators must have leadership in technology and innovation: The final category includes a lively manner and patience, school administrators should be able to work collaboratively with others and be patient when performing tasks.
6.2 The development of teacher satisfaction on work performance concerning wages and compensation. School administrators must ensure fair and rational promotion practice when determining an increase in salaries.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,398.84 KB |