ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
School Administrators’ Competencies Influencing the Effectiveness of Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
เกรียงไกร แสนสุข รหัส 62421229154 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม , ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 321 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างนี้ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)  ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 66 คน ครูผู้สอน จำนวน 189 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.80-0.96 ด้านสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.83-0.93 ด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นของเท่ากับ 0.94 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.83-0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ One-Way ANOVA, ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน     

ผลการวิจัย พบว่า

1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากและประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      

3. ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งพบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสบการณ์ในการทำงานพบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

4. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลโรงเรียนโดยรวมพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .762 

5. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 7 ด้าน พบว่ามีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และ 3) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 64.50 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.28477

6. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 สมรรถนะ ได้แก่ 

6.1 สมรรถนะด้านการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารต้องพัฒนาตัวเองในด้านการบริหาร เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยศึกษาจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสายงาน และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนั้นต้นสังกัดจัดอบรมสัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ   

6.2 สมรรถนะด้านหลักสูตร การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนา สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ และกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในด้านนี้อย่างสม่ำเสมอ     

6.3 สมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพการศึกษา จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้บริหารโรงเรียนเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing school administrators’ competencies influencing the effectiveness of schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample group consisted of 66 school administrators, 189 teachers, and 66 chairmen of the basic education board, obtained through multi-stage random sampling, yielding a total of 321 participants in primary schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in the 2020 academic year. The tools used for data collection were a set of 5-scale questionnaires and interview forms. The overall questionnaire had a reliability of 0.98 and a discriminative power from 0.80 to 0.96. In terms of school administrators’ competencies, the reliability was 0.96 with a discriminative power ranging from 0.83 to 0.93. Regarding school effectiveness, the reliability was 0.94 with a discriminative power ranging from 0.83 to 0.87.  The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The overall competencies of school administrators as perceived by participants were at a high level, school effectiveness also was at a high level overall. 

2. The overall competencies of school administrators as perceived by participants classified by positions, differed at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes and work experience, there were overall difference at the .05 level of significance.

3. The overall school effectiveness as perceived by participants, classified by positions, was different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes and work’ experience, there was no overall difference.

4. The school administrators’ competencies and school effectiveness had a positive relationship at the .01 level of significance with a correlation coefficient of .762.

5. Seven aspects of school administrators’ competencies were analyzed and found that three aspects, regarding: 1) school administration, 2) curriculum, instruction, learning measurement and evaluation, 3) educational quality assurance, could predict the school effectiveness at the .01 level of significance with the predictive power of 64.50  with the standard error of estimate of ±.28477.

6. The school administrators’ competencies influencing school effectiveness consisted of three aspects needing improvement: 

6.1 School Administration. School administrators must improve themselves in administration skills, be a transformational leader by studying from successful administrators, and be a good role model. Schools must also provide seminars, workshops, and learning exchange opportunities for teachers and school administrators through best administrative practices. 

6.2 Curriculum, Instruction, Learning Measurement and Evaluation. School administrators must focus on stakeholders’ participation in the development process, support teaching and learning management, implement various evaluation and assessment, provide best practice school visits, and ensure regular operational monitoring and evaluation.

6.3 Educational Quality Assurance. School administrators should advance the process of educational quality assurance, arrange workshops for developing new knowledge and skills necessary for school administrators, support best practice school visits, ensure stakeholder participation,and provide regular monitoring and evaluation.
 

คำสำคัญ
สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน, ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Competencies of School Administrators, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,195.51 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 พฤษภาคม 2565 - 15:23:53
View 503 ครั้ง


^