ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา หนองคายและบึงกาฬ
The Administrative Factors Affecting School Administration Effectiveness in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area Office, Nong Khai, and Bueng Kan
ผู้จัดทำ
สุพัตรา ดีท่าโพธิ์ รหัส 62421229202 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคายและบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 244 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 334 คน ปีการศึกษา 2563 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .23-.82 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา  มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .27-.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t–test for Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1.    ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2.    ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  

3. ปัจจัยทางการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน และจังหวัดที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมหนองคายและ บึงกาฬ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันระดับสูง (rxy = .844) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน มีจำนวน 5 ด้าน มีอำนาจพยากรณ์กับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างสถานศึกษา ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร และด้านการจูงใจ สามารถร่วมกันพยากรณ์ด้านการบริหารงานบุคคลได้ร้อยละ 97.30 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ ±0.05308

 7. แนวทางปัจจัยทางการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ดังนี้ 7.1) ด้านภาวะผู้นำ ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ บริหารแบบมีส่วนร่วม ตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของสถานศึกษา 7.2) ด้านวัฒนธรรมองค์กร ควรมีการส่งเสริมให้ผู้บริหารใช้หลักการมีส่วนร่วมกับบุคลากร ร่วมกันสร้างบรรยากาศทั้งภายในและภายนอก 7.3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนควรมีการสนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดกระบวนการเรียนรู้  7.4) ด้านโครงสร้างองค์กร ผู้บริหารควรจัดการโครงสร้างการบริหารให้ชัดเจน และ 7.5) ด้านบุคลากร ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการบุคลากร
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship and the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting school administration effectiveness in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office, Nong Khai, and Bueng Kan, as perceived by school administrators and teachers. The samples consisted of 90 school administrators and 244 teachers, yielding a total of 334 participants in the academic year 2020. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan table and multi-stage random sampling. The instruments were questionnaireforms and interviews forms. The sets of questionnaires were administrated to examine administrative factors and school administration effectiveness with the discriminativepower ranging from .23 to .82, and from .27 to .79, respectively. A reliability value of .98 was obtained for both sets of questionnaires. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-momentcorrelation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrative factors as a whole and each aspect were rated at a high level.

2. The school administration effectiveness in secondary schools as  a whole and each aspect was rated at a high level.

3. The administrative factors as perceived by participants with different positions and the provinces in which the schools were located, as a whole showed no differences. In terms of school sizes and work experience, overall, there were differences at the .01 level of significance.

4. The school administration effectiveness as perceived by participants with different positions and work experience overall, showed no differences, whereas, in terms of school sizes and the provinces in which the schools were located overall, there was a difference at the .01 level of significance.  

5. The overall administrative factors were positively correlated  with the school administration effectiveness in secondary schools at a high level (rxy = .844) with the .01 level of significance.

6. The five factors of school administrative factors had the predictive power toward the school administration effectiveness, namely personnel, organizational structure, communication, atmosphere and organizational culture, and motivation. The factors could jointly forecast personnel management with 97.30 percent and had a standard error of estimate of ±0.05308.

7.  The proposed guidelines for administrative factors in secondary schools were as follows: 7.1) Leadership, administrators must have visions, participatory administration, and decision making based on the best interests of the schools; 7.2) In terms of organizational culture, schools should encourage administrators to implement the principles of participatory administration with personnel to mutually create an atmosphere both inside and outside organizations; 7.3) Information technology (IT), schools should support teachers to use IT in the learning process, and 7.4) Organizational structure, administrators should manage    the clear management structure, and  7.5) Personnel, administrators must have knowledge and competence in personnel administration management.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
Administrative Factors, School Administration Effectiveness, Secondary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,864.10 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 15:18:10
View 741 ครั้ง


^