ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of School Administration under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
ตวงสิทธิ์ พรหมมา รหัส 62421229203 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 329 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32 - 0.86 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9720 และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกค่าระหว่าง 0.38 - 0.89 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9841 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ One–Way ANOVA t-test ชนิด Independent Samples และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Person’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 

2. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านภาวะผู้นำแบบสั่งการ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่าโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  

3. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารงานงบประมาณและการบริหารงานบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการ บริหารงานโรงเรียน คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบสั่งการ โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ครูผู้สอน ร่วมวางแผน  กำหนดเป้าหมาย มาตรฐาน นิเทศกำกับ ติดตาม ยกย่อง ชมเชย กระตุ้น และสร้างแรงจูงใจครูผู้สอนอย่างสม่ำเสมอ  ตรวจสอบ รายงานผล นำผลมาปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ มีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์  วิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  พัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน มุ่งมั่น ตั้งใจ ทุ่มเท บริหารจัดการการที่ทันสมัย พัฒนาสมรรถนะ ครูผู้สอน  สร้างขวัญ กำลังใจครูผู้สอน และ 3) ภาวะผู้นำแบบสั่งการ ได้แก่ ควรกำหนดนโยบาย มาตรฐาน กฎระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of school administrators’ leadership affecting the effectiveness of school administration as perceived by school administrators and teachers, classified by positions, school sizes, and work experience, and establish guidelines for developing administrators’ leadership affecting the effectiveness of school administration under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample, obtained through Stratified random sampling, consisted of 329 school administrators and teachers in the academic year 2021. The research instrument was a set of 5-rating scale questionnaires containing administrators’ leadership with the discriminative power from 0.32 to 0.86 and the reliability of 0.9720, and the effectiveness of school administration with the discriminative power from 0.38 to 0.89 and the reliability of 0.9841. Data were analyzed through percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis testing was tested using One-Way ANOVA, t-test for Independent Samples, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The results were as follows:

1. The leadership of administrators and the effectiveness of school administration as a whole and in each aspect was at a high level.

2. The administrators’ leadership, classified by participants’ positions, as a whole showed no differences. When considering each aspect, there was a difference at the .01 level of significance in terms of directive leadership and transformational leadership. In terms of school sizes and work experience, there was no difference as a whole and in each aspect.

3. The effectiveness of school administration, classified by participants’ positions, and work experience as a whole and in each aspect showed no difference. In terms of school sizes, there was no difference as a whole. When each aspect was considered, differences at the .01 level of significance were found in budgeting management and personnel administration.

4. The administrators’ leadership and the effectiveness of school administration had a positive relationship at a high level with the .01 level of significance. 

5. The administrators’ leadership was able to predict the effectiveness of school administration, namely achievement-oriented leadership, transformational leadership, and directive leadership at the .01 level of significance.

6. The guidelines for improving administrators’ leadership comprised three aspects as follows: 1) Achievement-Oriented Leadership, administrators should provide opportunities for teachers to participate in planning, goal-setting, standard-setting, supervision, monitoring, recognition, encouragement, and maintaining teacher motivation regularly, examining the practice, reporting the results, and applying the findings to amend and improve work performance, 2) Transformational Leadership, administrators should have visions, creative thinking, analyze and solve problems systematically, pursue self-improvement, demonstrate commitment, intention, and devotion, modernize the administrative management, focus on improving teacher competency, and build up teachers’ morale, and 3) Directive Leadership, administrators should establish policies, standards, rules and regulations, and criteria to control, monitor, and assess teacher performance rigorously.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน
Keywords
Administrators’ Leadership, Effectiveness of School Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,752.76 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:25:23
View 305 ครั้ง


^