ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
The Instructional Leadership of Administrators in the 4.0 Era Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
อัญสิชา แสนภูมี รหัส 62421229204 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการยกระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 67 คน และครูผู้สอน จำนวน 262 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9818 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .9841 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ One–Way ANOVA, t-test ชนิด Independent Samples และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Person’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)   

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  

3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ด้านวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านการพัฒนางานด้านวิชาการสอดคล้องกับยุค 4.0 และด้านการติดต่อสื่อสารและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการศึกษา

6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในยุค 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ด้านวิชาการ ได้แก่ ผู้บริหารควรศึกษา ตระหนัก สร้างความเข้าใจร่วมกับครูผู้สอน ร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายการบริหารงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ กระตุ้นให้ครูผู้สอนมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนควรร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจความต้องการของผู้เรียน กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และขอบเขตของหลักสูตร ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน 3) ด้านการพัฒนางานด้านวิชาการสอดคล้องกับยุค 4.0 ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนควรร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ร่วมกับครูผู้สอน เพื่อกำหนดแนว นโยบาย และเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน พัฒนาบุคลากร มีการนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และ 4) ด้านการติดต่อสื่อสารและใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจัดการศึกษา ได้แก่ ควรศึกษาหาความรู้ที่หลากหลาย พัฒนาตนเอง บุคลากรอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน
 

Abstract

This research aimed to examine, compare the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for improving the instructional leadership of administrators in the 4.0 era in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The sample, obtained through stratified random sampling, had a total of 329 participants, including 67 school administrators and 262 teachers. The research instrument was a set of five-point rating scale questionnaires on administrators’ instructional leadership in the 4.0 era, and the effectiveness of academic affairs administration in schools, with the reliability of .9818, and .9841, respectively. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The results were as follows:

1. The administrators’ instructional leadership in the 4.0 era, and the effectiveness of academic affairs administration in schools as a whole and in each aspect, were rated at a high level by participants.

2. The administrators’ instructional leadership in the 4.0 era, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, as a whole and in each aspect showed no differences.

3. The effectiveness of academic affairs administration in schools, classified by participants’ positions, school sizes, and work experience, as a whole and in each aspect revealed no differences.

4. The administrators’ instructional leadership in the 4.0 era and the effectiveness of academic affairs administration in schools as a whole had a positive relationship at a rather high level, with the .01 level of significance.

5. The administrators’ instructional leadership in the 4.0 era affected the effectiveness of academic affairs administration in schools at the .01 level of significance, consisting of Academic Visions and Ideologies, Curriculum Management to Keep up with Changes, Academic Work Development in the 4.0 Era, and Communication Technologies Utilization to Promote Educational Management.

6. The guidelines for developing the administrators’ instructional leadership in the 4.0 era consisted of four aspects as follows: 1) Academic Visions and Ideologies, administrators should research, realize, and build mutual understanding with teachers by collaborating visions, goal tasks to keep up with changes, displaying willingness and intention, and encouraging teachers to improve good consciousness in work practice; and 2) Curriculum Management to Keep Up with Changes, administrators and teachers should jointly analyze data, survey students’ needs, establish visions, goals, scopes of the curriculum, and design contemporary and relevant learning activities; 3) Academic Work Development in the 4.0 Era, administrators and teachers should analyze present conditions to set clear policies, and standardized criteria, promote personnel development, provide continuous supervision, and monitor work performance; and 4) Communication Technology Utilization to Promote Educational Management, administrators should seek knowledge from different sources, engage in ongoing self and personnel development, and support teachers utilizing communication technologies to improve classroom management and work practice. 
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ ผู้บริหารในยุค 4.0 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Instructional Leadership, Administrators in the 4.0 Era, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,989.28 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:23:39
View 436 ครั้ง


^