ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามุกดาหาร
The Roles of School Administrators Affecting the Operational Effectiveness of the OBEC Moral Schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
กฤติเดช สมตน รหัส 62421229208 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.สุมัทนา หาญสุริย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาอำนาจพยากรณ์ของบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน และหาแนวทางการพัฒนาบทบาท ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 187 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 17 คน และครูผู้สอน จำนวน 170 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 และประสิทธิผล การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า

1. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 

2. ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 

3. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง  และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

4. ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

5. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (rxy= .261)  

6. บทบาทของผู้บริหารของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบว่ามีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ได้แก่ ด้านการจัดหลักสูตร (X2) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม (X3) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการนิเทศและการสอน (X4) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ได้ร้อยละ 84 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ ±.07849

7. แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดหลักสูตร ควรบูรณาการวิชาคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปใน 8 กลุ่มสาระ มีการศึกษาหลักสูตรแกนกลาง ด้านการจัดสภาพแวดล้อม โรงเรียนควรมีพระพุทธรูปประจำโรงเรียน จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ที่เป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และด้านการนิเทศและการสอน ควรมีการกำหนดแผนการนิเทศ กำกับ ติดตามไว้อย่างชัดเจน
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power of school administrators’ roles and              the operational effectiveness of the OBEC moral schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office, as perceived by school administrators and teachers, and establish guidelines for developing school administrators’ roles affecting the operational effectiveness of the OBEC moral schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted of a total of 187 participants, including 17 school administrators and 170 teachers working in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office in the 2021 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning school administrators’ roles with the reliability of 0.83 and the operational effectiveness of OBEC moral schools with the reliability of 0.81. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrators’ roles as a whole and each aspect were at the highest level. 

2. The operational effectiveness of the OBEC Moral Schools as a whole and each aspect was at the highest level. 

3. The operational effectiveness of the OBEC Moral Schools as a whole and each aspect, classified by positions and work experience, as a whole showed no differences. 

4. The operational effectiveness of the OBEC Moral Schools, classified by positions and work experience, as a whole showed no differences.

5. The school administrators’ roles as a whole had a positive relationship with the operational effectiveness of the OBEC Moral Schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office at the .01 level of significance with a low level  (rxy= .261).  

6. The school administrators’ roles, which were able to predict the operational effectiveness of the OBEC Moral Schools, consisted of three aspects: the curriculum management (X2) and the environmental management (X3) were at the .01 level of significance, whereas the supervision and instruction (X4) was at the .05 level of significance. The said aspects were able to predict the operational effectiveness of the OBEC Moral Schools at 84 percent with a standard error of estimate of ±.07849.

7. The guidelines for developing school administrators’ roles affecting the operational effectiveness of the OBEC Moral Schools proposed three aspects needing improvement: In terms of curriculum management, the integration of moral and ethical subjects into eight substance groups is required. School administrators are required to study the Basic Education Core Curriculum. In terms of environmental management, schools should have the Buddha statutes, and provide learning resources to enhance morals and ethics. In terms of supervision and instruction, the plans for supervision and monitoring should be clearly defined.
 

คำสำคัญ
บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ประสิทธิผลการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
Keywords
School Administrators’ Roles, Operational Effectiveness of the OBEC Moral Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 21,938.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:08:12
View 563 ครั้ง


^