สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และหาแนวทางพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 356 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 89 คน ครูที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีจำนวน 89 คน และครูผู้สอนจำนวน 178 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ แบบสอบถามสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .946 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนโดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. การเปรียบเทียบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน
4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันโดยรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารมี 3 ด้านที่ต้องนำไปหาแนวทางในการพัฒนา คือ 1) ด้านการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 2) ด้านการสนับสนุนส่งเสริมและการจัดการเทคโนโลยี และ 3) ด้านจริยธรรม กฎหมาย และความปลอดภัย
The purposes of this research were to examine, compare, identify the productive power, and establish guidelines for developing the information technology competency of administrators and the effectiveness of academic affairs administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The research sample, obtained through a randomization method, consisted of 89 school administrators, 89 teachers in charge of technology, and 178 teachers, yielding a total of 356 participants under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was determined by Krejcie and Morgan table. Sampling by multi-stage random sampling. The data were collected using a set of 5 - point Likert scale questionnaires, a set of questionnaires on information technology competency of administrators with the reliability of .946, and the effectiveness of academic affairs administration with the reliability of .971. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation. t-test, One-Way ANOVA, and Pearson’s product-moment correlation coefficient.
The findings revealed that:
1. The information technology competency of administrators as a whole and in each aspect was rated at a high level.
2. The effectiveness of academic affairs administration as a whole and in each aspect was rated at a high level.
3. The result comparison of administrators’ information technology competency as perceived by participants classified by positions and school sizes, revealed that administrators’ information technology competency showed differences at the 0.05 level of significance. In terms of work experience, the information technology competency of administrators showed no differences.
4. The result comparison of the effectiveness of academic affairs administration, as perceived by participants classified by positions and work experience as a whole showed differences at the .01 level of significance, whereas the effectiveness of school academic affairs administration showed differences at the .05 level of significance.
5. The administrators’ information technology competency had a positive relationship with the effectiveness of academic affairs administration at a high level with the .01 level of significance.
6. The guidelines for developing administrators’ information technology competency consisted of three aspects needing improvement: 1) Supporting Learning Management, 2) Promoting Information Technology Management, and 3) Ethics, Law, and Safety.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,228.60 KB |