ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
Priority Needs Assessment to Develop Brahmvihara 4 of the Administrators of Phrapariyattidhamma Schools, General Education Department, Group 8, the National Office of Buddhism
ผู้จัดทำ
ประดิษฐ์ เศษถา รหัส 62421247105 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกลักษณ์ เพียสา ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8  สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ปีการศึกษา 2563 จํานวน 211 รูป/คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 สภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับพรหมวิหาร 4 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .269-.456 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .895 และสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .436-.586 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .899 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นด้วยวิธี (PNI modified)

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. สภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านหลักธรรมมุทิตา (x = 4.39) รองลงมาคือ ด้านหลักธรรมเมตตา (x = 4.37) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านหลักธรรมกรุณา (x = 4.27) สภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านหลักธรรมอุเบกขา(x =4.58) รองลงมาคือ ด้านหลักธรรมเมตตา (x = 4.57) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านหลักธรรมมุทิตา (x = 4.52)

          2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ด้านหลักธรรมกรุณา มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNI modified = 0.068) รองลงมาคือ ด้านหลักอุเบกขา (PNI modified = 0.048) ด้านหลักธรรมเมตตา (PNI modified = 0.046) และด้านหลักธรรมมุทิตา (PNI modified = 0.030) ตามลำดับ

Abstract

         The purpose of this study was to assess the priority needs for developing the four Brahmviharas of the administrators of Phrapariyattidhamma Schools, General Education Department, Group 8, the National Office of Buddhism. The samples included 211 administrators and teachers who functioned their jobs in Phrapariyattidhamma Schools in 2023 academic year. They were obtained through stratified random sampling technique. The tool used to collect the data was a 5-scale questionnaire which was subdivided into 2 sections: section 1 included the items to examine the actual state of four Brahmviharas and this section contained 0.80-1.00 validity, .269-.456 discrimination, and 0.80-1.00 reliability; another section consisted the questions to check the expected/desirable state and this section had .436-.586 discrimination and .899 reliability. The statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. To assess and analyze the needs, Modified Priority Needs Index (PNI modified) was adopted.

          The study revealed these results:

          1. The administrators’ overall actual state of the four Brahmviharas in Phrapariyattidhamma Schools, General Education Department, Group 8, was at the high level (x = 4.35). Contemplating each aspect of the four Brahmviharas , mudita (sympathetic joy) gained the highest mean; (x = 4.39)  metta (loving-kindness) had the second highest mean (x = 4.37); while karuna (compassion) stayed at the least mean (x = 4.27). Regarding the expected/desirable state of the four Brahmviharas, the study showed that the overall four Brahmviharas of the administrators of Phrapariyattidhamma Schools, General Education Department, Group 8, the National Office of Buddhism, were at the highest level (x = 4.56). Considering each aspect of the administrator’s expected Brahmviharas, upekkha (equanimity) was at the highest mean (x = 4.58); metta (loving-kindness) contained the second highest mean (x = 4.57); and mudita (sympathetic joy) had the lowest mean (x = 4.52).

           2. When prioritizing the needs for developing the four Brahmviharas of the administrators of Phrapariyattidhamma Schools, General Education Department, Group 8, the National Office of Buddhism, it was indicated in the study that karuna (compassion) was the first priority (PNI modified   = 0.068); upekkha (equanimity) was the second priority (PNI modified = 0.048); metta (loving-kindness) was the third priority (PNI modified = 0.046); and mudita (sympathetic joy) was regarded as the last priority need (PNI modified  = 0.030), respectively.

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น พรหมวิหาร 4 ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม
Keywords
Priority needs, Brahmvihara 4, administrator of Phrapariyattidhamma School
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,527.45 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 กุมภาพันธ์ 2567 - 15:07:01
View 510 ครั้ง


^