ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Leadership of Administrators Affecting Professional Learning Community of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
ธีระนันต์ โมธรรม รหัส 62421247106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) ศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5) ศึกษาอำนาจการพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 6) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 434 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 49 คน และครู จำนวน 385 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตาราง Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.41-0.91 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. โมเดลองค์ประกอบการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 2.44, df = 2, p-value = .30, GFI = 1, AGFI = .98, RMR = .002) โดยองค์ประกอบการมีภาวะผู้นำมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทางวิชาชีพการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และชุมชนกัลยาณมิตร ตามลำดับ

2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 

5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วม (X5)  และด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล (X6) มีอำนาจพยากรณ์การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 47.00 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

           
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
            Y’ = 1.82 + .17X5 + .42X6


            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
            Z’y = .20Z5 + .50Z6

6. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล 
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) identify the components of professional learning community, 2) examine the level of leadership of the school administrators, 3) examine the level of professional learning community, 4) investigate the relationship between leadership of the administrators and the professional learning community, 5) examine the predictive power in leadership of administrators affecting the professional learning community, and 6) investigate the guidelines for developing leadership of administrators affecting the professional learning community.The samples of this study included 434 participants which comprised 49 school administrators and 385 teachers in schools under Secondary Educational Service Area Office 22. The sample sized was determined using Krejcie and Morgan table.The participants were recruited using multi-stage random sampling. A 5-rating scale questionnaire which indicates validity index between 0.80-1.00, discrimination index ranged between 0.41-0.91 and the overall reliability index at 0.98, was employed as the research instrument. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation, stepwise multiple regression analysis and confirmatory factor analysis.

The findings were as follows. 

1. The developed professional learning community model was congruent with the empirical data (χ2 = 2.44, df = 2, p-value = .30, GFI = 1, AGFI = .98, RMR = .002). Among the components of professional learning community, leadership obtained the highest factor loading index, following with team working, professional development learning, visioning and friendship community, respectively. 

2. The levels of leadership of school administrators in overall and each aspect were at high level.

3. The level of the professional learning community in overall and each aspect were at high level.

4. The relationship between leadership of school administrators and the professional learning community showed moderate level of positive correlation with statistical significance at .01. 

5. The leadership of administrators in promoting participation (X5) and individualized consideration (X6) were able to predict the professional learning community (Y) with statistical significance at .01 level, and obtained a predictive power at 47.00. 


            The equation could be summarized in raw scores: 
            Y’ = 1.82 + .17X5 + .42X6


            The predictive equation standardized scores: 
            Z’y = .20Z5 + .50Z6

6. The guidelines for developing leadership of administrators affecting professional learning community comprised two aspects: promoting participation and individualized consideration.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
leadership, leadership of administrators, professional learning community
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,385.89 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 16:51:25
View 923 ครั้ง


^