สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ระยะที่ 2 การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 364 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.28-0.87 และค่าความเชื่อมั่น 0.90 ส่วนด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.42-0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน และระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การทำงานเป็นทีม การบริการที่ดี การวิเคราะห์และสังเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาตนเอง การมีวิสัยทัศน์ และการสื่อสารและการจูงใจ ส่วนองค์ประกอบประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความพึงพอใจในการทำงานของครู ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน คุณลักษณะผู้เรียน และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
2. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
5. สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (X5) ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (X4) ด้านการบริการที่ดี (X3) และด้านการสื่อสารและการจูงใจ (X8) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 64.60 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y’ = 1.191 + .392(X5) - .288(X4) + .324(X3) + .244(X8)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z’y = .529(Z5) - .363(Z4) + .325(Z3) + .314(Z8)
6. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการบริการที่ดี ด้านการสื่อสารและการจูงใจ และด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์
This study aimed to examine the competencies of school administrators that affected the effectiveness of small-sized schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1. The research was divided into three phases: Phase 1 was the identification the components of school administrator competencies and the effectiveness of small-sized schools. The informants were five qualified persons. Phase 2 was the study of the competencies of school administrators that affected the effectiveness of small-sized schools. The samples consisted of 364 participants of school administrators and teachers in small-sized schools, who were recruited using multi-stage random sampling. The instrument used was a set of 5-level rating scale questionnaire, which the part of school administrator competencies indicated discrimination power index ranged between 0.28 - 0.87 and reliability index was at 0.90, whereas the part of school effectiveness indicated discrimination power index ranged between 0.42 and reliability index was at 0.91. The data was analyzed for amean, standard deviation, Pearson correlation, and multiple regression analysis. And phase 3 was the construction of guidelines for developing the competencies of school administrators that affected the effectiveness of small-sized schools using the interview of five experts. The data were analyzed for frequency, percentage and content analysis.
The findings were as follows.
1. The competency of school administrators comprised eight components, namely achievement motivation, teamworking, good service, analysis and synthesis, human resource development, self-development, visioning and communication and motivation, whereas school effectiveness comprised four components, namely work satisfaction of teachers, learner achievement, learner characteristics, and learning organization.
2. The competency of administrators of small-sized schools, in overall, was at the highest level.
3. The effectiveness of small-sized schools, in overall, was at high level.
4. The competency of school administrators and the effectiveness of small-sized schools showed positive at high level with statistical significance at .01.
5. The administrator competencies in human resource development (X5), analysis and synthesis (X4), good service (X3) and communication and motivation (X8) were able to predict the effectiveness of small-sized schools (Y) with statistical significance at .01 with the predictive power of 64.60%. The forecasting equation could be written as follows.
Forecasting equation in raw score form
Y’ = 1.191 + .392 X5 - .288 X4+ .324 X3 + .244 X8
Forecasting equation in standard score form
Z’y = .529 Z5 - .363 Z4+ .325 Z3 + .314 Z8
6. Guidelines for developing the competencies of school administrators that affected the effectiveness of small-sized schools composed of four aspects, namely personnel development, good service, communication and motivation, and analysis and synthesis.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,232.54 KB |