สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 341 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.43-0.79 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 แบบสอบถามเกี่ยวกับความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.42-0.77 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ด้านงบประมาณ 4) ด้านบรรยากาศองค์การและวัฒนธรรมองค์การ 5) ด้านการพัฒนาบุคลากร และ 6) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม
2. ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ปัจจัยทางการบริหารกับความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X1) ด้านการพัฒนาบุคลากร (X5) ด้านงบประมาณ (X3) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X6) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ (X4) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X2) มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน (Y)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละเท่ากับ 69
สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้
Y’ = .54 + .36X1 + .48X5 + .36X3 + .44X6 + .22X4 + .14X2
และสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
Z’y = .39Z1 + .51Z5 + .38Z3 + .47Z6 + .22Z4 + .15Z2
6. แนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน มีจำนวน 6 ด้าน คือ ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านงบประมาณ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม
The purposes of this study was to investigate the administrative factors affect personnel management success of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom. The samples included 341 participants of administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom, who were selected using stratified random sampling. The instruments used in data collection was a set of 5-rating scale questionnaire, which contained a part of questions about school administrative factors indicated validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.43-0.79 and reliability index was at 0.94, and another part comprised questions about personnel management success of school administrators indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.42-0.77 and reliability index was at 0.94. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation, and stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows.
1. The components of administrative factors of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom comprised 6 components: 1) Leadership of administrators, 2) Information technology, 3) Budgeting, 4) Organizational climate and culture, 5) Personnel development and 6) Participatory management.
2. The administrative factors that affected the personnel management success of school administrators, as a whole aspect, was at high level.
3. The personnel management success of school administrators, as a whole aspect, was at high level.
4. The administrative factors and the personnel management success of school administrators showed positive correlation at high level and statistical significance at .01
5. The administrative factors of school administrators, namely Leadership of administrators (X1), Personnel development (X5), Budgeting (X3), Participatory management (X6), Organizational climate and culture (X4) and Information technology (X2) were able to predict the personnel management success of school administrators (Y) at statistical significance at .01 with a predictive power at 69. The equation could be summarized in raw scores as follows.
Y’ = .54+.36X1+.48X5+.36X3+.44X6+.22X4+.14X2
and the predictive equation standardized score as
Z’y = .39Z1+.51Z5+.38Z3+.47Z6+.22Z4+.15Z2
6. The guideline to develop the administrative factors that affected the personnel management success of school administrators comprised six aspects, namely Leadership of administrators, Information technology, Budgeting, Organizational climate and culture, Personnel development and Participatory management.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,300.89 KB |