ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Development of an Innovative Leadership Enhancement Model for School Administrators under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
ปุญญพัฒน์ สิงห์จารย์ รหัส 62421247127 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยและการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 ตรวจสอบ ความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการโดยการศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 341 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.50-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34-0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา  2) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา    3) กระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) ประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา       

2. รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และกระบวนการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามลำดับ
 

Abstract

The objectives of this study were to develop and examine the suitability of an innovative leadership enhancement model for school administrators under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The study was conducted in  two phases. The first phase was the development of the innovative leadership enhancement model by studying of relevant concepts theories as well as synthesizing of related research articles, and the querying of five experts' opinions. The second phase was the examination of the suitability of the innovative leadership enhancement model for school administrators by exploring the opinions of 341 administrators and teachers in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in the academic year B.E. 2563.  The participants were selected using multi-stage random sampling. The instrument used in data collection was a 5-rating scale questionnaire, which obtained content validity index between 0.50-1.00, discrimination index between 0.34-0.85 and reliability index at 0.98. Statistics implemented in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation

The findings were as follows.

1. The innovative leadership development model for school administrators under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office comprised   of four components, namely 1) innovative leadership enhancement factors for school administrators, 2) elements of innovative leadership development for school administrators, 3) innovative leadership enhancement process for school administrators and 4) effectiveness of innovative leadership among school administrators.    

2. The innovative leadership enhancement model for school administrators under  Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in overall and each element were appropriate at high level. Each element could be ranked from the highest to the lowest mean value as: innovative leadership enhancement factors for school administrators, effectiveness of innovative leadership among school administrators, and innovative leadership enhancement process for school administrators, respectively.
 

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
Keywords
development model, leadership, innovative leadership
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,691.02 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 16:43:12
View 945 ครั้ง


^