ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1
Factors Affecting Effectiveness of Inclusive Education of Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
อรัญญา แสนสีแก้ว รหัส 62421247131 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู รวมทั้งสิ้น จำนวน 468 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.45-0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 ส่วนแบบสอบถามประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.47-0.96 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บทบาทผู้บริหารโรงเรียน 2) ความพร้อมของทรัพยากรในโรงเรียน 3) ความรู้และทักษะของครูผู้สอน 4) การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนของผู้ที่เกี่ยวข้อง 5) การจัดการเรียนรู้ 6) ความร่วมมือระหว่างครูและบุคลากรในโรงเรียน 7) นักเรียนปกติทั่วไป และ 8) ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชน

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก 

3. ประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 

4. ปัจจัยที่ส่งผลกับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 4 ปัจจัย คือ การจัดการเรียนรู้ (X5) ความรู้และทักษะของครูผู้สอน (X3) ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชน (X8) และบทบาทผู้บริหารโรงเรียน (X1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.80 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ดังนี้

            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
                Y’ = 2.243 + .174X5 + .081X3 + .066X8 + .060X1
            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 
                Z’y = .274Z5 + .124Z3 + .105Z8 + .103Z1 

6. แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบ เรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การจัดการเรียนรู้ 2) ความรู้และทักษะของครูผู้สอน 3) ความเข้าใจของผู้ปกครองและชุมชน และ 4) บทบาทผู้บริหารโรงเรียน
 

Abstract

The purpose of this research was to investigate the factors affecting effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The samples of this study comprised 468 participants of school administrators and teachers, who were selected using multi-stage random sampling. The instruments used in data collection was a set of 5-rating scale questionnaire which contained two parts. The part of factors affecting the effectiveness of inclusive education of schools obtained content validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.45-0.89, and reliability at was 0.98, and the part of the effectiveness of inclusive education of schools obtained content validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.47-0.96 and reliability index was at 0. 98. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation and stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows.

1. The factors affected the effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised 8 components, namely 1) role of school administrators, 2) readiness of school resources, 3) knowledge and skills of teachers, 4) participation and support of stakeholders, 5) learning management, 6) cooperation among teachers and school personnel, 7) students and 8) understanding of parents and community.

2. The factors affected the effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in overall was at high level.

3. The effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in overall, was at high level.

4. The factors affected the effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in overall, showed positive correlation at high level with statistical significance at .01.

5. The factors affected the effectiveness of the inclusive education management of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised four factors, namely learning management (X5), understanding of parents and community (X8), knowledge and skills of teachers (X3), and role of school administrators (X1). The predictive power was at 77.80 percent, and could be written in the form of the equation as follows:

            predicting equation in raw scores
                Y’ = 2.243 + .174X5 + .081X3 + .066X8 + .060X1
            predicting equation in standardized scores
                Z’y = .274Z5 + .124Z3 + .105Z8 + .103Z1

6. The guideline to develop the factors affected the effectiveness of inclusive education of schools under Sakon Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised four components: 1) learning management, 2) knowledge and skills of teachers, 3) understanding of parents and community and 4) role of school administrators.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยที่ส่งผล การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ประสิทธิผลในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
Keywords
Factors Affecting, Inclusive Education, Effectiveness of Inclusive Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,317.61 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤศจิกายน 2566 - 10:40:24
View 137 ครั้ง


^