ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดนครพนม
Creative Leadership of the Heads of Child Development Centers Affecting the Operational Effectiveness of Child Development Centers in Nakhon Phanom Province
ผู้จัดทำ
ณัฏฐณิชา พลศรีดา รหัส 62421247132 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำ เชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้ดูแลเด็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม จำนวน 307 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling)  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถาม ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .54-.80 และค่าความเชื่อมั่น .96 ส่วนแบบสอบถามประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง .60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง .44-.77  และค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. โมเดลการวัดภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = .88, df = 1.00, p-value = .35, RMSEA = .00) น้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดมีค่าเป็นบวก ขนาด .86 - .90 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ  การแก้ไขปัญหา รองลงมา ได้แก่ ความยืดหยุ่น การมีวิสัยทัศน์ และจินตนาการ) ตามลำดับ 

2. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

3. ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

4. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการแก้ไขปัญหา (X4) ด้านความยืดหยุ่น (X2) และด้านจินตนาการ (X1) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 81.40 สามารถเขียนสมการได้ ดังนี้

             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ 
            Y’ = .61 + .26X4  + .29X2 + .30X1 


            สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 
            Z’y  = .30Z4 + .34Z2 + .33Z1 

6. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการแก้ไขปัญหา ด้านความยืดหยุ่น และด้านจินตนาการ
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) identify the creative leadership components of the heads of child development centers, 2) examine the creative leadership levels of the heads of the child development centers, 3) examine the operational effectiveness levels of the child development centers, 4) investigate the relationship between creative leadership of the heads of child development centers and the operational effectiveness of the child development centers, 5) examine the predictive power in creative leadership of the heads of the child development centers that affected the operational effectiveness of the child development centers, and  6) propose guidelines to develop creative leadership for the heads of child development centers that affected the operational effectiveness of the child development centers. The sample group of this study comprised 307 participants, including the directors of Education Religion and Culture Division, educators, heads of child development centers, and child care teachers who worked under the local administrative organizations in Nakhon Phanom Province. The sample size was determined using Krejcie and Morgan table. The participants were randomly selected using multi-stage random sampling. The instruments used in data collection were 5-rating scale questionnaires, namely a questionnaire on creative leadership which obtained validity index between .60-1.00, discrimination index between .54-.80 and reliability index at .96, and a questionnaire on the operational effectiveness of the child development centers which indicated the validity index between .60-1.00, discrimination index between .44-.77 and the overall reliability index at .96. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation, stepwise multiple regression analysis and confirmatory factor analysis.

The findings were as follows.

1. A measurement model on creative leadership of the heads of child development centers was congruent with the empirical data (Chi-Square = .88, df = 1.00, p-value = .35, RMSEA = .00), and all factor loading were positive, .86 - .90 with statistical significance at .01. Problem solving obtained the highest factor loading following with flexibility, visioning, and imagination, respectively.

2. The creative leadership level of the heads of the child development centers in overall and each aspect were at high level.

3. The operational effectiveness level of the child development centers in overall and each aspect were at high level.

4. The creative leadership of the heads of the child development centers and the operational effectiveness of the child development centers obtained high level of positive correlation with statistical significance at .01.

5. The creative leadership of the heads of child development centers in problem solving (X4), flexibility (X2) and imagination (X1) predicted the operational effectiveness of the child development centers (Y) with statistical significance at the .01  with a predictive power that achieved 81.40% as presented in the following equation.


            The forecasting equations in raw scores          

         Y’ = .61 + .26X4  + .29X2 + .30X1 


            The forecasting equation in the form of standardized scores
            Z’y  = .30Z4 + .34Z2 + .33Z1 

6. The guidelines for the creative leadership development of heads of child development centers comprised three aspects: problem solving, flexibility and imagination.
 

คำสำคัญ
: ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ประสิทธิผลการดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
Keywords
leadership, creative leadership, operational effectiveness, child development center
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,763.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
9 สิงหาคม 2564 - 23:12:02
View 709 ครั้ง


^