ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Development of Professional Teacher Indicators in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ทรัพย์สุรีย์ วงษา รหัส 62421247136 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพของครู การวิจัยแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะที่หนึ่งการพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพ และระยะที่สองการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 350 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.26-0.75 และ ค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 

             ผลวิจัยพบว่า

                 1. ความเป็นครูมืออาชีพของครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 66 ตัวบ่งชี้จำแนกเป็น ด้านจิตวิญญาณความเป็นครู จำนวน 26 ตัวบ่งชี้   มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.95 ด้านการพัฒนาตนเอง จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.95 และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.66

                 2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสอดคล้องกัน (Chi – Square = 30.92, p-value = 0.71, df = 36,   c2/df = 0.86, CN = 669.25) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Abstract

The purposes of this study were to develop indicators and to examine the goodness of fit of a structural model of professional teacher indicators. The study was divided into two phases. Phase 1 was the development of professional teacher indicators, and Phase 2 was the investigation of the goodness of fit of the professional teacher indicator structural model. The samples consisted of 350 participants of administrators and teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 in academic year 2021. The participants were selected using multi-stage random sampling. The tool employed in the study was a set of 5-rating scale questionnaire indicated content validity index ranged between 0.80–1.00, discrimination power index ranged between 0.26–0.75 and reliability index was at 0.97. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and confirmatory component analysis.

             The study revealed that,

                 1. The components of professional teachers comprised of three main components, 12 sub-components, and 66 indicators. The indicators were classified as:  26 indicators of teacher self-actualization with factor loading at 0.95, 17 indicators of self-development with factor loading at 0.95 and 23 indicators of classroom management with factor loading at 0.66.

                 2. The goodness of fit examination of the structural model of professional teacher indicators showed the congruence with the empirical data with Chi–Square = 30.92, p-value = 0.71, df = 36, c2/df = 0.86, CN = 669.25).

These results achieved the established hypotheses.

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้ ความเป็นครูมืออาชีพ โรงเรียนประถมศึกษา
Keywords
Indicator, professional teachers, primary schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,001.58 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 พฤศจิกายน 2566 - 09:17:46
View 145 ครั้ง


^