สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิผลการบริการสาธารณะ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.11) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =2.92) ประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x =3.34)
2. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครด้านสื่อบุคคล (β=.501) ด้านสื่อภาพ (β=.325) และด้านสื่อเสียง (β=.271) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 ส่วนด้านสื่อลายลักษณ์อักษร (β=.212) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ .552 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 55.20
3. การมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (β =.672) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร (β=.179) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ .537 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครได้ร้อยละ 53.70 ส่วนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
The purposes of this study included the following: 1) to investigate the level of people’s information perception, people’s participation, and the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, 2) to examine the influences of information perception and people’s participation on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization. The samples consisted of 400 people who resided in Sakon Nakhon Province. They were gained through stratified random sampling. A questionnaire was employed as a tool for data collection and statistics used for data analysis comprised frequency, percentage, mean, standard deviation and Multiple Regression Analysis.
The study revealed these results:
1. The people’s information perception of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole, was at the moderate level (x =3.11). Likewise, the people’s participation in the functions of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole, was at the moderate level ( x =2.92). In the same vein, the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, as a whole, was also at the moderate level ( x=3.34).
2. Regarding the people’s information perception of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization, personal media (β=.501), image/photo media (β=.325), and audio media (β=.271) significantly influenced on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .00 statistical level. At the same time, written and printed media (β=.212) significantly influenced on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .01 statistical level. The correlation coefficient was .552 and altogether, they could be used to correctly predict the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization 55.20%.
3. Concerning the people’s participation, taking part in receiving the benefits (β =.672) significantly influenced on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .00 statistical level. At the same time, the people’s participation in the functions of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization (β=.179) significantly influenced on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization at .05 statistical level. The correlation coefficient was .537. Altogether, they could be used to correctly predict the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization 53.70%. However, taking part in making decision and evaluating did not influence on the effectiveness of the public services of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 5,528.63 KB |