ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
Evaluation of State Welfare Card Policy in Mueang Sakon Nakhon District Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
ชัยวัฒน์ จุวรรณ รหัส 62426423117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับผลการดำเนินงาน ตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร  2) เพื่อเปรียบเทียบระดับ ผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 396 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 396 คน  ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 54.00  มีอายุระหว่าง 41-50 ปี  จำนวน 121 คน  คิดเป็นร้อยละ 30.60 มีสถานภาพสมรส จำนวน 255 คน คิดเป็นร้อยละ 64.40 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี   จำนวน 292 คน คิดเป็นร้อยละ 73.70 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน 217 คน คิดเป็นร้อยละ 54.80 และมีรายได้ 30,001-100,000 บาท/ปี จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52.50 ตามลำดับ

2. การประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร  จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x= 4.08)  เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์ (x= 4.26) รองลงมาคือ ด้านบริบท (x= 4.04)  และด้านปัจจัยนำเข้า  x(= 4.00) ตามลำดับ

3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของการประเมินผลนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำแนกตามคุณลักษณะ ส่วนบุคคล พบว่า  ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  จึงเป็นการปฏิเสธสมมุติฐานที่ว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้มีบัตรที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

4. แนวทางการพัฒนาการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านบริบท ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงสิทธิ์ที่ตนจะได้รับและควรพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ทั่วถึง ด้านปัจจัยนำเข้า ควรมีการยกสิทธิ์สวัสดิการและยอดเงินคงเหลือให้ไปสมทบในเดือนถัดไปได้ ด้านกระบวนการ ควรเชิญชวนร้านค้าภายในชุมชนให้เข้าร่วมโครงการเป็นร้านธงฟ้า และด้านผลลัพธ์ ควรขยายขอบเขตสวัสดิการภายในบัตรให้กว้างขว้างออกไป

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to evaluate the level of performing the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District,  Sakon Nakhon Province regarding the respects of context, input factors, process, and productivity, 2) to compare the level of performing the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province regarding the respects of context, input factors, process, and productivity on the basis of personal traits, 3) to explore and gain guidelines on developing the performance of the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province regarding the respects of context, input factors, process, and productivity. Obtained through stratified random sampling, the samples consisted of 396 Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province citizens who carried the State Welfare Cards. A questionnaire was employed for data collection and statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t –test (Independent Samples), and One–way ANOVA. 

The study revealed these results: 

1. Of all samples-396 citizens who carried the State Welfare Cards of Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province,  it was found that most of them-214 persons or 54% of all card holders were males;  121 persons or 30.60% of all card holders were 41–50 years old; 255 persons or 64.40% of all card holders were married; 292 persons or 73.70% of all card holders had been educated under the levels which were lower than bachelor’s degrees; 217 persons or 54.80% of all card holders were common workers or unspecified/general employees; and 208 persons or 52.50% of all card holders earned 30,001-100,000 baht a year, respectively.   

2. The performance of the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province, as a whole, was at the high level (x = 4.08). Contemplating each aspect/element, three respects were evaluated and ranked from the highest to the least as follows: the productivity gained the highest mean (x = 4.26); the context gained the second highest mean (x = 4.04); and the input factors contained the third highest mean (x = 4.00).

3. Comparing the evaluation of performing the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province on the basis of the card holders’ personal traits, it was indicated that there was no statistically significant difference at .05 level. Thus, the hypothesis that there would be different opinions on the performance of the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province among the card holders whose personal traits differed was rejected. 

4. These guidelines were suggested for developing the performance of the State Welfare Card Policy, Mueang Sakon Nakhon District, Sakon Nakhon Province: regarding the context element/respect, the people should be informed and publicized to know about their rights and the internet network should be accessible and available for all; about the input factors, the monthly allowance right and its remaining amount should be permissible to be transferred to spend or include into the amount given in the following month; of the process,  the shops or stores in the community should be persuaded to take part in  the Project of Blue Flag Shops/Stores; about the productivity, the scope of the welfare benefits implemented in the State Welfare Card Policy should be extended.

คำสำคัญ
การประเมินผลนโยบาย, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
Keywords
Policy evaluation, State Welfare Card
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,816.69 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 สิงหาคม 2564 - 01:35:25
View 696 ครั้ง


^