ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงาน ประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนื
The Causal Relationship Model for the Operational Effectiveness of Internal Quality Assurance of Small- Sized Primary Schools in the Northeastern Region
ผู้จัดทำ
ขวัญใจ วงศ์สุวรรณ รหัส 62532250104 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และปัจจัยเชิงสาเหตุที่เลือกมาศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืน ของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก  การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโมเดลสมมติฐาน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร และขั้นที่ 2 การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 7,231 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 โรงเรียน มีผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 720 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนที่เป็นหน่วย โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็ก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยเชิงสาเหตุที่เลือกมาศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ คุณลักษณะของบุคลากร สภาพแวดล้อมในการทำงาน วัฒนธรรมองค์การ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามลำดับ

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติวัดความกลมกลืนของรูปแบบ คือ ค่าไค - สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 51.66 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 40 ค่าไค - สแควร์สัมพันธ์ ( χ2/df) เท่ากับ 1.29 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.102 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.02 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤต (CN)เท่ากับ 876.94 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีของรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ของตัวแปรแฝงภายใน พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.86

3. แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยเรียงลำดับค่าอิทธิพลทางตรงจากมากไปน้อย ดังนี้ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องพัฒนาภาวะผู้นำโดยการอบรมหรือพัฒนาโดยใช้นวัตกรรม โปรแกรมงานวิจัยต่าง ๆ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุง ให้สะอาด สวยงาม ปลอดภัย เพียงพอกับความต้องการ คุณลักษณะของบุคลากร สร้างความตระหนักให้บุคลากรเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน และวัฒนธรรมองค์การ ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการทำงาน ตามลำดับ
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the operational effectiveness of internal quality assurance in small-sized primary schools and the selected causal factors, 2) determine the consistency of the causal relationship model for the operational effectiveness of internal quality assurance in small-sized primary schools with the empirical data, and 3) to establish the guidelines for developing factors affecting the operational effectiveness of internal quality assurance in small-sized primary schools. The three-phase research was conducted: Phase I was constructing a causal relationship model with the following steps: Step 1- analysis of documents and relevant research studies, and Step 2- expert interviews; Phase ll involved the validation of the causal relationship model with the empirical data. The research sample, obtained through a multi-stage random sampling, consisted of 720 respondents drawn from 360 out of 7,231 small-sized primary schools in Northeast Thailand under the Office of Basic Education Commission in the 2021 academic year. 

The findings were as follows:

1. The operational effectiveness of internal quality assurance of small-sized primary schools was at a high mean score ranking. The selected causal factors were rated at a high mean score level, which was listed from high to low in descending order as follows:  personnel attributes, working environment, organizationalculture, and leadership of school administrators. 

2. The developed causal relationship model of the operational effectiveness of internal quality assurance in small - sized primary schools was consistent with the empirical data with the following values: chi-square of 51.66, degrees of freedom (df) of 40, relative chi-square value χ2/df of 1.29, p - value of 0.102, root mean square error of approximation (RMSEA) of 0.02, adjusted goodness of fit Index (AGFI) of 0.97, critical N (CN) of 876.94, comparative fit index (CFI) of 0.99, root mean squared residual (RMR) of 0.01, and squared multiple correlations (R2) for endogenous latent variables of 0.86.

3. The guidelines for developing factors that directly influence the operational effectiveness of internal quality assurance of the small-sized primary schools were ranked in descending – to - descending scores as follows: Regarding leadership, school administrators must improve leadership practices through training or innovations and various research programs. Schools must be developed and improved to be hygienic, attractive, secure, and adequate to meet the needs in terms of the working environment. Regarding personnel attributes, administrators should raise awareness among personnel about the values and importance of the internal quality assurance operational process. School administrators should also encourage a culture of engagement at work for improving the organizational culture. 
 

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน
Keywords
The Causal Relationship Model, Operational Effectiveness of Internal Quality Assurance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,539.71 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 10:34:56
View 232 ครั้ง


^