ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Strategies on Effective Student Care and Support Operational System for Primary Schools under the Office of Basic Education Commission in the Northeast
ผู้จัดทำ
แดนไพร สีมาคาม รหัส 62632233102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.เอกลักษณ์ เพียสา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี (Mixed  Methods Research) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา 2) พัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา 3) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา และ4) จัดทำคู่มือการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน พหุกรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 3 โรงเรียน และศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน  400 คน ระยะที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Group) จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 462 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) และระยะที่ 4 การจัดทำคู่มือการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า PNImodified

ผลการวิจัยพบว่า

1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีของความต้องการจำเป็นโดยรวมเท่ากับ 0.302 (PNImodified = 0.302) เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ตามลำดับ 

2. กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ 12 พันธกิจ 12 เป้าประสงค์ 12 กลยุทธ์ 59 โครงการ/กิจกรรม และ76 ตัวชี้วัดความสำเร็จ 

3. กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

4. คู่มือการใช้กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Abstract

This mixed-method study aimed to: 1) explore the need  of student care and support operational system in primary schools, 2) develop strategies of the effective student care and support operational system in primary schools, 3) validate the appropriateness and feasibility of the effective student care and support operational system in primary schools and 4) produce a manual of  effective student care and support operational system in primary schools under the Office of Basic Education Commission in the northeast. The research procedures were conducted in four phases. The first phase was an exploration of the need of student care and support operational system in primary schools, which was taken by reviewing related literature and research studies, interviewing nine experts, conducting a multiple case study of three primary schools where performed outstanding in student care and support operational system and exploring the need of student care and support operational system in schools by inquiring the opinions of 400 school directors and teachers who responsible for student care and support system in primary schools. The second phase was the development of the effective strategies of student care and support operational system in primary schools.  A focus group discussion of 10 experts was organized in this phase. The third phase was a validation of the appropriateness and feasibility of the developed strategies by inquiring the opinions from 462 school directors and teachers who responsible for student care and support system in primary schools. They were selected using multi-stage random sampling. And the fourth phase was the production of a manual effective student care and support operational system in primary schools, which was validated by five experts. Statistics applied in data analysis were mean, standard deviation, percentage and PNImodified.

The results were as follows.

1. The priority need index of the student care and support operational system in primary schools under the Office of Basic Education Commission in the northeast in was at 0.302, which could be prioritized as: preventing and solving problems for students, case referral, student screening, student encouragement and development and individual inventory.

2. The developed strategies of effective student care and support operational system for primary schools under the Office of Basic Education Commission in the northeast comprised vision, 12 missions, 12 goals, 12 strategies, 59 projects/activities and 76 key performance indicators. 

3. The appropriateness and feasibility of the developed strategies of effective student care and support operational system for primary schools under the Office of Basic Education Commission in the northeast was at the highest level.

4. The appropriateness of the developed manual of effective student care and support operational system in primary schools under the Office of Basic Education Commission in the northeast was at the highest level.
 

คำสำคัญ
กลยุทธ์, การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิผล, ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา
Keywords
Strategies, Effective Operation, Student Care and Support System, Primary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,775.83 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
1 มิถุนายน 2565 - 14:57:31
View 2697 ครั้ง


^