ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Strategies on Supervision Competency Development Using Self–Directed Learning of Educational Supervisors under the Office of the Basic Education Commission
ผู้จัดทำ
จณิสตา สมบูรณ์ รหัส 62632233104 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี , ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ 4) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ และ 5) ประเมินคู่มือการใช้กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 350 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพปัจจุบันมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.63-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.49-0.71 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 ส่วนด้านสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.63-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.69 ถึง 0.97 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัยพบว่า 

1. สมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ พบว่ามี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การนิเทศการศึกษาและพัฒนางานวิชาการ 2) การวิจัย 3) การสื่อสารและแรงจูงใจ และ 4) การทำงานเป็นทีม

2. สภาพปัจจุบันของสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 5 เป้าประสงค์ 6 กลยุทธ์ 20 โครงการ  23 ตัวชี้วัด

4. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นได้อยู่ในระดับมากที่สุด

5. คู่มือการใช้กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศโดยการเรียนรู้แบบนำตนเองของศึกษานิเทศก์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Abstract

The objectives of this research were to: 1) identify the factors of supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors, 2) explore the current and desirable conditions for supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors, 3) develop strategies on supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors, 4) evaluate the appropriateness and feasibility of the strategies on supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors, and 5) evaluate a manual for implementing the strategies on supervisory competency development based on self-directed learning of educational supervisors. The participants comprised 350 supervisors under the office of the Basic Education Commission in the academic year 2021. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan Table. The participants were recruited using Multi-Stage Random Sampling. The instruments used was a 5-level rating scale questionnaire, which the current conditions obtained validity index between 0.63-1.00, discrimination power index between 0.49-0.71 and reliability index was at 0.94, whereas the desirable conditions obtained validity index between 0.63-1.00, discrimination power index between 0.69-0.97 and reliability index was at 0.96. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation (S.D) and Modified Priority Needs Index (PINModified) 

The findings were as follows.

1. The factors of supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors consisted of 4 fundamental components, namely 1) educational supervision and academic work development, 2) research conduction, 3) communication and motivation and 4) teamwork. 

2. The overall current condition for supervisory competency based on self-directed learning of educational supervisors was at high level, whereas the desirable condition was at the highest level.

3. Strategies for supervisory competency development based on self-directed learning of educational supervisors consisted of vision, four missions, five goals, six strategies, 20 target projects and 23 key performance indicators.

4. The strategies for supervisory competency development based on self-directed learning of educational supervisors, in overall, appropriate and feasible at highest level.

5. The manual for implementing the strategies on supervisory competency development based on self-directed learning of educational supervisors was appropriate at the highest level.
 

คำสำคัญ
สมรรถนะการนิเทศ การเรียนรู้แบบนำตนเอง กลยุทธ์การพัฒนา ศึกษานิเทศก์
Keywords
Supervision Competency, Self-Directed Learning, Development Strategies, Supervisors
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,044.41 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:20:17
View 882 ครั้ง


^