ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of a Participatory Supervision Model to Enhance Learning Measurement and Evaluation Competency of Teachers in Primary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast.
ผู้จัดทำ
วราลักษณ์ อาจวิชัย รหัส 62632233108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี , ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู 3) ตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ และ 4) จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความถูกต้อง และความเหมาะสมของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 450 คน ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แยกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ คุณภาพด้านความถูกต้องของแบบสอบถาม โดยมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.25 ถึง 0.62 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.41 ถึง 0.95 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 และคุณภาพด้านความเหมาะสมของแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.22 ถึง 0.58 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.43 ถึง 0.90 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 และระยะที่ 4 การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา ตรวจสอบความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ วิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. องค์ประกอบของสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล 2) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง 3) การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ และ 4) การนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร 

2. รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วม 2) ขอบข่ายสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู 3) กระบวนการนิเทศแบบมีส่วนร่วม และ 4) ผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู

3. รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง และความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

4. คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
 

Abstract

The objectives of this study were to 1) identify competency factors of learning measurement and evaluation of teachers, 2) develop a participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers, 3) examine the correctness and appropriateness of the model and 
4) construct a user manual on the participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast. The research procedures were divided into four phases. Phases 1 was the intensive review of learning measurement and evaluation competency by analyzing research articles and related literature, and the nine experts interview. Phase 2 was the model development using 3-round modified Delphi technique from the comments of 21 professionals. Phase 3 was the examination of the correctness and appropriateness of the developed model by surveying the opinions of 450 school administrators, academic teachers and teachers in primary schools, who were selected through multistage sampling. The instrument used was a 5-level rating scale questionnaire. The questionnaire contained two aspects, namely the quality of the questionnaire’s correctness, which obtained validity index between 0.25 to 0.62, the discrimination power index between 0.41 to 0.95 and reliability index at 0.99, and the quality of the questionnaire’s appropriateness, which obtain validity index between 0.22 to 0.58, the discrimination power index between 0.43 to 0.90 and reliability index at 0.99. Phase 4 was the construction of the user manual of the participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers in primary schools, which was examined for the appropriateness by five experts. The appropriateness of the model was at the highest level. Statistics used to analyze the collected data were frequency, mean, percentage, standard deviation, median and interquartile range using software program.

The results showed that,

1. The competency factors of learning measurement and evaluation of teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast consisted of four components, namely 1) knowledge about measurement and evaluation, 2) authentic measurement and evaluation, 3) quality checking of learning measurement and evaluation tools and 4) implementation of the quality checking results to improve learning management according to the curriculum.

2. The participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast consisted of four principal components, namely 1) factors affecting the effectiveness of the participatory supervision, 2) scope of measurement and evaluation competency of teachers, 3) participatory supervision process and 4) the outcomes of participatory supervision to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers.

3. The participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast obtained the in overall correctness and appropriateness at the highest level. 

4. The overall appropriateness of the developed user manual of the participatory supervision model to enhance learning measurement and evaluation competency of teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast was at a highest level.
 

คำสำคัญ
รูปแบบ การนิเทศแบบมีส่วนร่วม สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
Keywords
Model, Participatory Supervision, Learning Measurement and Evaluation Competency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,302.33 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 กุมภาพันธ์ 2566 - 13:45:58
View 1052 ครั้ง


^