ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Learning Leadership Development Model of Administrators in Educational Opportunity Expansion Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast
ผู้จัดทำ
รมิดา เศรษฐบดี รหัส 62632233109 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น

               ผลการวิจัยพบว่า

                 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เป็นทีม 2) การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงาน 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 5) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และ 6) การบูรณาการ 

                 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมเท่ากับ 0.85 (PNImodified=0.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการเรียนรู้เป็นทีม (PNImodified=0.88) มีค่าสูงสุด รองลงมาได้แก่ การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการปฏิบัติงาน (PNImodified=0.87) ความคิดสร้างสรรค์ (PNImodified=0.86) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (PNImodified=0.85) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (=0.83) และการบูรณาการ (PNImodified=0.80) ตามลำดับ

                 3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระเนื้อหา วิธีการพัฒนา/กระบวนการ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ

                4. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ และมีความคงสภาพของภาวะผู้นำการเรียนรู้    

Abstract

The objective of this study was to develop a model of learning leadership of administrators in educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast. The participants included 500 administrators of the educational opportunity expansion schools in academic year 2021. They were selected using multi-stage random sampling method. The tools used in the study comprised 1) document analysis form and semi-structured Interview form. The collected data were analyzed using content analysis, and 2) A 5-rating scale questionnaire, which indicated the Index of Concordance (IOC) between 0.80-1.00, discriminative power index between 0.80-1.00, and reliability index at 0.98.  Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and priority need analysis using PNImodified.

             The results showed that:

                 1. The learning leadership components of school administrators in educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast comprised six components, namely 1) Team learning,

2) Advanced technology implementing in operation, 3) Creativity, 4) c, 5) self-guided learning, and 6) Integration.

                 2. The needs of learning leadership development f administrators in educational opportunity expansion schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast, in overall, was at 0.85 (PNImodified=0.85). Considering for each aspect, the needs were prioritized as: Team learning (PNImodified=0.88), followed by Advanced technology implementing in operation (PNImodified=0.87), Creativity (PNImodified=0.86), an Advanced technology implementing in operation (PNImodified=0.85), self-guided learning (=0.83) and Integration (PNImodified=0.80), respectively.

                 3. The model of learning leadership development of administrators in educational opportunity expansion schools consisted of six components, namely principles, objectives, content, development methods/processes, evaluation, and success conditions.

                 4. The implementation of the learning leadership development model of administrators in educational opportunity expansion schools revealed that the administrators’ learning leadership were gradually developed and retained.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเรียนรู้ รูปแบบการพัฒนา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Keywords
Learning Leadership, Development Model, Educational Opportunity Expansion Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 20,747.18 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 กุมภาพันธ์ 2567 - 12:25:42
View 700 ครั้ง


^