ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of Effective Early Childhood Educational Management Indicators for Primary Schools under the Office of Basic Education Commission In the Northeast
ผู้จัดทำ
เพชรดาว นิลสว่าง รหัส 62632233202 ระดับ ปริญญาเอก (ภาคพิเศษ)
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกลักษณ์ เพียสา กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และการศึกษาโรงเรียนดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน เพื่อให้ได้มาซึ่งการกำหนดกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการสอบถามผู้บริหารสถานศึกษา และครูปฐมวัยโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.88–1.00 ค่าอำนาจการจำแนก ระหว่าง 0.26-0.90 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมของคู่มือ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ

             ผลการวิจัย พบว่า

                 1. ตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย 96 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นด้านการบริหารจัดการ จำนวน 27 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีส่วนร่วม จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 23 ตัวบ่งชี้  และด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร จำนวน 15 ตัวบ่งชี้

                2. โมเดลโครงสร้างการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2 = 20.47, p-value = 0.99, df = 39, x2 /df = 0.52, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.000)

               3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objective of this study was to develop effective early childhood educational management indicators for primary schools under the Office of Basic Education Commission in the Northeast. The procedures were divided into three phases. Phase 1 was to identify the framework of indicator development using intensive review of related documents and research articles, seven experts’ interviews and case studied of three out standing schools where achieved the Royal Reward in pre-school management and drafted the indicators. Phase 2 was the hypothesis testing with empirical data through the interviews of 500 administrators and teachers in primary schools under the Office of Basic Education Commission in the Northeast. They were selected multi-stage random sampling. The instrument used in data collection was a set of 5-rating scale questionnaire, which indicated content validity index ranged between 0.88-1.00, discriminative power index ranged between 0.26-0.90 and reliability index at 0.99. Statistics used in data analysis were was confirmatory factor analysis. Phase 3 was to develop a manual of the effective early childhood educational management indicators for primary schools using the evaluation from 5 experts. The 5-rating scale evaluation form was employed in this phase

             The findings were as follows.

             1. The effective early childhood educational management indicators for primary schools comprised five core components, 19 sub-components and 96 indicators, including 27 indicators of Management, 14 indicators of participation, 17 indicators of early childhood learning management, 23 indicators of early childhood development and 15 indicators of curriculum and curriculum management.

            2. The effective early childhood educational management structural model for primary schools congruent with empirical data (x2 = 20.47, p-value = 0.99,   df = 39, x2 /df = 0.52, GFI = 1.00, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.000)

             3. The manual of manual of the effective early childhood educational management indicators for primary schools showed the highest level of appropriateness.

คำสำคัญ
การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัย ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตัวบ่งชี้
Keywords
Early Childhood Educational Management, Indicators, Indicator Development
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,678.03 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 13:39:12
View 401 ครั้ง


^