ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Causal Relationship Model of Selected Factors Affecting Elementary School Administrators’ Effective Implementation of Technology in Digital Era of Basic Education School in the Northeastern Region
ผู้จัดทำ
สิริพร มิ่งวงศ์ธรรม รหัส 62632250101 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับปัจจัยคัดสรรที่นำมาศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลสมมุติฐาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร และขั้นที่ 2 การศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรร กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 520 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลในโรงเรียนแต่ละแห่งมีจำนวน 2 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูผู้รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 1,040 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนที่เป็นหน่วยโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยเชิงสาเหตุที่เลือกมาศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ นโยบายด้านเทคโนโลยีในการบริหาร โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของสถานศึกษา ความรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีของบุคลากร และสมรรถนะของผู้บริหารและครูในการนำเทคโนโลยีไปบูรณาการในการปฏิบัติงาน

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติวัดความกลมกลืนของรูปแบบ คือ ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 141.25 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 169 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (χ2/df) เท่ากับ 0.84 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.941 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.0 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤต (CN) เท่ากับ 1574.65 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.0 ค่าดัชนีของรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ของตัวแปรแฝงภายใน พบว่า มีค่าเท่ากับ 1.00

3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีในการบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดยปัจจัยที่ส่งผลโดยรวม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 4 ตัว คือ 1) นโยบายด้านเทคโนโลยีในการบริหาร โดยการให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่มีความชัดเจน และการกำหนดแผนงานด้านเทคโนโลยีในแผนปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียน 2) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของสถานศึกษา โดยการกำหนดแผนพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ผู้รับผิดชอบ และภาระงานให้ชัดเจน 3) ความรู้ความสามารถด้านการใช้เทคโนโลยีของบุคลากร โดยการพัฒนาและฟื้นฟูทักษะด้านเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการใช้และพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และ 4) สมรรถนะของผู้บริหารและครูในการนำเทคโนโลยีไปบูรณาการในการปฏิบัติงาน โดยการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the level of elementary school administrators’ effective Implementation of technology in digital era of basic education school in the northeastern region and the level of selected factors; 2) validate the concordance of the causal relationship model of selected factors affecting elementary school administrators’ effective implementation of technology with the empirical data; 3) establish the guidelines for developing selected factors affecting elementary school administrators’ effective implementation of technology in digital era of basic education school in the northeastern region. The research was divided into three phases: Phase I- Construction of Hypothesis Model. This phase comprised two steps: Step I was related to document and relevant research studies, and step II concerned a study through nine experts. Phase II-Model Verification with Empirical Data and Phase III involved the establishment of guidelines for developing selected factors affecting elementary school administrators’ effective Implementation of technology in digital era of basic education school in the Northeastern region. The sample in this phase consisted of 520 elementary schools under the Office of the Basic Education Commission in the northeastern region in the 2021 academic year. Two key informants were drawn from each school including an elementary school administrator and a teacher, yielding a total 1,040 persons, using a multi-stage random sampling.

The findings were as follows:

1. The elementary school administrators’ effective implementation of technology in digital era was in medium score ranking. The whole selected factors were in medium score ranking: technology management policy, school’s technology infrastructure, teachers’ competencies on technology implementation, and the elementary school administrator and teachers’ competencies of technology integration throughout the school system.

2. The developed causal relationship model of selected factors affecting elementary school administrators’ effective Implementation of technology in digital era  was consistent with the empirical data: Chi-square value of 141.25, degree of freedom (df) of 169, the relative chi-square value χ^2/df of 0.84, Probability Value (p-value) of 0.941, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) of 0.0, Goodness of Fit Index (GFI) of 0.99, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) of 0.98, Critical N (CN) = 1547.65,  Comparative Fit Index (CFI) of 1.00, Root Mean Squared Residual (RMR) of 0.01 and Alpha Coefficient (R2) of 1.00. 

3. The research proposed the guidelines for developing selected factors affecting elementary school administrators’ effective Implementation of technology in digital era. The four selected factors that had both direct and indirect effects on the elementary school administrators’ effective Implementation of technology in digital era of basic education school in the northeastern region, comprising 1) technology management policy; involving staffs in policy establishment and specifying the technology policy in school management plan , 2) school’s technology infrastructure; forming school’s technology infrastructure developing plan, assign responsible staff and duties , 3) teachers’ competencies on technology implementation; reskilling and upskilling on technology, being a  good example of technology user in improving technology competencies and 4) the elementary school administrator and teachers’ competencies of technology integration throughout the school system; bringing technology into work.
 

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยี ยุคดิจิทัล
Keywords
Causal Relationship Model of Factors, Effective Implementation of Technology, Digital Era
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,711.96 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 11:08:13
View 338 ครั้ง


^