สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต 2) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต 3) ประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบายแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาบริบทเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายจากการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย และการศึกษาเชิงสำรวจการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ประกอบด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน ระยะที่ 3 เป็นการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการจัดสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ในการประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน พบว่า 1) ด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา มีแผนการพัฒนานโยบายด้าน ICT ประจำปี เช่น แผนการพัฒนาระบบปรับปรุงอาคารและพัฒนาเครือข่ายด้าน ICT ในส่วนปัญหา มหาวิทยาลัยมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และควรเปิดโอกาสเพื่อให้เกิดความร่วมมือของหน่วยงานภายในสังกัดร่วมกันกำหนดแนวทางและนโยบายด้าน ICT 2) ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สภาพทรัพยากรที่จำเป็นในการพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษามีความพร้อมในบางส่วนแต่ขาดการพัฒนาหน่วยงานหลักที่สนับสนุนงานด้าน ICT มหาวิทยาลัยควรมีการจัดหา ซ่อมบำรุง อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายในส่วนที่เสียหรือชำรุดให้มีความทันสมัย 3) ด้านการบริหารจัดการการเรียนการสอน มีการส่งเสริมในการนำ ICT มาใช้ในงานด้านการเรียนการสอน แต่ยังขาดการวางแผนที่มีความเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควร มีการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการเรียนการสอน และ 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร มีการกำหนดแผนนโยบายเพื่อพัฒนาทักษะด้าน ICT สำหรับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยประจำปี สำหรับปัญหา พบว่าบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องเชิงเทคนิคด้านโปรแกรมและนวัตกรรมใหม่ ๆ และความต้องการ มหาวิทยาลัยควรมีการจัดกิจกรรมการพัฒนาความรู้และทักษะด้าน ICT แก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง
2. ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ประกอบด้วย เป้าหมายวัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติและส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการบริหารจัดการการเรียนยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาบุคลากร
3. ผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตโดยรวมมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากทุกด้าน
This research aimed to 1) examine the current conditions, problems, and needs of information and communication technology (ICT) management for teaching and learning at Savannakhet University, 2) develop an ICT management policy for teaching and learning at Savannakhet University, and 3) evaluate the proposed policy for ICT management for teaching and learning at Savannakhet University. The policy research methodology was divided into three phases: Phase I was a context inquiryin preparation for drafting a policy based on document inquiries, and interviews with university administrators, and an exploratory study on the ICT management for teaching and learning; Phase II was related to the development of a drafted policy on the ICT management for teaching and learning at Savannakhet Universities through a focus group with 15 university administrators; and Phase III was the evaluation of the proposed policy through a seminar with 15 experts to assess the validity, suitability, feasibility, and usefulness of the proposed ICT policy for teaching and learning at Savannakhet University.
The results showed that:
1. The current conditions, problems, and needs of ICT management for teaching and learning at Savannakhet University revealed that: 1) In terms of ICT management in educational institutions, an annual development plan ICT policy is required, such as a plan for developing a building improvement system and an ICT network. Concerning the challenges, the university’s budget for ICT management is insufficient, hence providing opportunities for cooperation across affiliated departments, as well as collaboratively formulating ICT guidelines and policies could contribute to the challenges, 2) In terms of ICT infrastructure, the university should concentrate on the development of educational hardware and software resources, that are currently only partially available. However, there appears to be a lack of development in key agencies to support ICT tasks. As a result, the university should provide, and maintain current hardware and software, as well as upgrade or modernize a malfunctioning or damaged network system, 3) In terms of teaching and learning management, the university encourages the integration of ICT into teaching and learning, but the constraint is due to the lack of ICT management planning for improving teaching and learning. Consequently, the university should promote curriculum development to facilitate the application of ICT with teaching and learning management, and 4) Personnel development, the university should formulate annual policy plans for developing ICT skills for students, teachers, and personnel. There are significant hurdles in integrating ICT rising from personnel’s technical expertise and understanding, as well as their awareness of new initiatives, innovations, and needs. Hence, the university should organize activities for developing ICT knowledge and skills for personnel annually.
2. The effects after the implementation of the proposed policy for ICT management in teaching and learning at Savannakhet University consisted of goals, objectives, strategies, tactics, and guidelines. The four strategies consisted of Strategy 1: ICT Management in Educational Institutions, Strategy 2: ICT Infrastructure, Strategy 3: Learning Management, and Strategy 4: Personnel Development.
3. The assessment of ICT management policy proposals for teaching and learning at Savannakhet Universities was accurate, appropriate, feasible, and useful at all high level of all levels.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,446.05 KB |