ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
The Causal Relationship Model of the Effectiveness of Opportunity Expansion Schools in the Upper Northeastern Region
ผู้จัดทำ
สไบภรณ์ พงศ์ศาสตร์ รหัส 62632250103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและปัจจัยเชิงสาเหตุที่นำมาศึกษา 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างโมเดลสมมติฐาน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (rating scale) และ ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิพลโรงเรียน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 794 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 433 โรงเรียน มีผู้ตอบแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 866 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนที่เป็นหน่วย โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. ประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และปัจจัยเชิงสาเหตุที่เลือกมาศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1) ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะครู 2) ตัวแปรแฝงภายใน 1 ตัว คือการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกปัจจัย 

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน หลังการปรับแก้ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติวัดความกลมกลืนของรูปแบบ คือ ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 70.96 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 66 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.316 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (χ2/df) เท่ากับ 0.27 มีค่าน้อยกว่า 2.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ค่า CN เท่ากับ 1166.725 ค่า  CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMR เท่ากับ 0.01 และสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R^2) เท่ากับ .993

3. การนำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยเรียงลำดับค่าอิทธิพลจากสูงไปต่ำ ดังนี้ 1) ปัจจัยสมรรถนะครู พัฒนาโดยการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการมีจิตวิญญาณครู 2) ปัจจัยภาวะผู้นำของผู้บริหาร พัฒนาโดยการพัฒนาวิสัยทัศน์ สร้างความสุขจากการทำงาน พัฒนาความรู้ ทักษะ ตลอดจนการที่ผู้บริหารมีความเข้าใจครู และ 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน พัฒนาโดยผู้ปกครองและชุมชนผลักดันโรงเรียนให้เกิดประสิทธิผลโดยการระดมทุนทรัพย์ และส่งปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the effectiveness of opportunity expansion schools in the upper northeastern region and the causal factors selected to explore, 2) examine the consistency of the causal relationship model of the effectiveness of opportunity expansion schools in the upper northeastern region with the empirical data, and 3) establish guidelines for developing factors affecting the effectiveness of opportunity expansion schools in the upper northeastern region. The three-phase research was conducted as follows: Phase I was related to constructing the hypothesis model; Phase ll involved the model validation with the empirical data; and Phase lll was related to setting up guidelines for developing factors that affected the school effectiveness. Within each chosen school, 866 respondents were selected across the 433 schools drawn from 794 opportunity expansion schools in the upper northeastern region under the Office of the Basic Education Commission in the 2021 academic year. The samples were obtained through multi-stage random sampling using a school as a unit selection.

The findings were as follows:

1. The effectiveness of opportunity expansion schools in the upper northeastern region achieved high mean scores ranking. The causal factors chosen for the study also reached the mean scores at a high level, including 1) external latent variables, namely administrators’ leadership and teacher competencies, 2) an internal latent variable, namely parental and community participation.  

2. The effectiveness of opportunity expansion schools in the upper northeastern region was consistent with the empirical data: Chi-square of 70.96, degrees of freedom (df) of 66, the relative chi-square value x^2/df of 0.27, p-value of 0.316, root mean square error of approximation (RMSEA) of 0.01, adjusted goodness of fit index (AGFI) of 0.98, critical N (CN) of 1166.725, comparative fit index (CFI) of 1.00, root mean squared residual (RMR) pf 0.01. and 〖 R〗^2 of .993

3. The proposed guidelines for developing factors affecting the effectiveness of opportunity expansion schools classified the influence values in descending rank as follows: 1) Teacher Competencies concentrating on the development of teachers’ knowledge, skills, and teaching spirituality, 2) Administrators’ Leadership aiming at improving visions, creating happiness toward works in schools, developing knowledge, skills, and building teachers and school administrators’ understandings, and 3) Parental and Community Participation involving parental and community participation to improve the school effectiveness, which include financial contributions and local wisdom philosophers to provide knowledge for students.
 

คำสำคัญ
ประสิทธิผล โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Keywords
Effectiveness, Opportunity Expansion Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,611.00 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 10:43:09
View 384 ครั้ง


^