ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Causal Factors Affecting the Effectiveness of Small-Sized Primary Schools in the Northeast Region
ผู้จัดทำ
รำไพ ไชยยนต์ รหัส 62632250117 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา บริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญากรณ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยแบ่ง เป็น  3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันข้อมูล ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สแควร์ (Chi-square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติขั้นสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 โรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เพื่อหาแนวพัฒนาและประเมินผลความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปค่าเฉลี่ยน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมขององค์การ มีค่าเฉลี่ย 4.54 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของ โรงเรียน และปัจจัยด้านการจัดการเรียนสอน มีค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับมาก 

2. โมเดลความสัมพันธ์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (χ2) เท่ากับ 54.41 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 26 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ 2.09 ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.0009 ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) เท่ากับ 0.039 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤต (CN) เท่ากับ 597.76 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีของรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษ (RMR) เท่ากับ 0.005 และสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.99    

3. แนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยปัจจัยที่ส่งผลทางตรง 4 ตัว คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ ความรู้และทักษะและมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างได้ 2) สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ควรมีความสะอาดร่มรื่น ปลอดภัย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี 3) วัฒนธรรมขององค์การ ควรมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันการยอมรับซึ่งกันและกันมีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และ 4) การจัดการเรียนการสอน ครูควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดทักษะ เปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
 

Abstract

This research aimed to 1) examine the level causal factors of the effectiveness of small-sized primary schools in the northeast region; 2) validate the developed linear relationship model of causal factors; and  3) establish guidelines for developing the causal factors of the effectiveness of small-sized schools in the northeast region. The research was divided into three phases: Phase 1 examining the level of the causal factors of the school effectiveness through relevant documents and research studies, and interviews with experts for data confirmation; Phase 2: validating the consistency with empirical data using model structural equations (SEM) and a linear model analysis with Chi-square statistics. Advanced statistical techniques, such as SPSS and LISREL software packages, were employed to analyze the quantitative data. The sample group comprised school administrators and teachers from 360 small-sized schools in the northeast region in the academic year 2021. The school was used as the unit of analysis, and the sample group was selected suing multi-stage random sampling; and Phase 3 examining guidelines for developing causal factors of the effectiveness of small-sized primary schools in the northeast region through ten expert interviews to establish guideline development and evaluate the appropriateness of the developed guidelines.

The findings were as follows:

1. The causal factors of the effectiveness of small-sized primary schools in the northeast region were overall rated at a high level ranking from high to low mean scores as follows: The organizational culture factor received the highest rating with a mean of 4.54, followed by the administrators’ leadership factor, the school environment factor, and the teaching and learning factor, all with similar means of 4.49, indicating a high level of influence. 

2. The developed relationship causal factor model was consistent with the empirical data. The Chi-square (χ2) = 54.41, Degrees of Freedom (df) = 26, Chi-square/Degree of Freedom (χ2/df) = 2.09, Probability (p-value) = 0.0009, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.039, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.99, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.95, Critical N (CN) = 597.76, Comparative Fit Index (CFI) = 1.00, Root mean squared Residual (RMR) = 0.005, and Alpha Coefficient (R2) = 0.99.

3. The guidelines for developing the causal factors contributing to the effectiveness of small-sized primary schools in the northeast region comprised of four aspects: 1) Leadership, administrators must process vision, knowledge,skills, and exhibit good personal qualities to serve as role models; 2) School Environment, the school environment should be clean, safe, and provide good learning resources; 3) Organizational Culture, schools should foster an environment of mutual trust, acceptance, and friendship; and 4) Teaching and Learning, teachers should organize activities to support students’ performance to improve learning skills, play supportive roles and encourage students to learn.
 

คำสำคัญ
ประสิทธิผลโรงเรียน ปัจจัยเชิงสาเหตุ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
Keywords
School Effectiveness, Causal Factors, Small-Sized Primary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,755.55 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 กรกฎาคม 2566 - 21:24:58
View 330 ครั้ง


^